นวัตกรรมถุงพลาสติกรักษ์โลก
นวัตกรรมใหม่จากฝีมือของคนไทยกับงานวิจัยนานร่วม 10 ปี สำหรับการพัฒนาถุงพลาสติกย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยการใช้แป้งมันสำปะหลังที่จะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทดแทนถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งมีระยะเวลาการย่อยสลายที่ช้ามากและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง
.
ขยะจากอาหาร (Food Waste) นับว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศไทย เพราะเป็นขยะที่เกิดขึ้นในสังคมมากกว่า 60% จากขยะทั้งหมด การพัฒนาถุงพลาสติกสลายตัวจากขยะอินทรีย์หรืออาหาร จึงมีความสำคัญอย่างมากนั่นเอง
จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. เล่าว่า ปัญหาขยะพลาสติก กลายเป็นประเด็นสำคัญทั่วโลกตื่นตัวกันมาก ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกสู่ท้องทะเลมากที่สุดของโลก
สาเหตุสำคัญมาจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง มีอัตราส่วนที่มากขึ้น 40% ของขยะพลาสติกทั้งหมด เพื่อลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม นั่นคือที่มาของความร่วมมือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาถุงพลาสติกสลายตัวสำหรับขยะอินทรีย์ ซึ่งเป็นสูตรพลาสติกชีวภาพโดยใช้วัตถุดิบจากแป้งมันสำปะหลัง
โดยร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (TBiA) และบริษัท โททาล คอร์เบียน พีแอลเอ ประเทศไทย จำกัด และบริษัทบีเอเอสเอฟ (ไทย) ผู้สนับสนุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติกชีวภาพ และบริษัททานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) สนับสนุนกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกสลายตัวได้ ใช้ระยะเวลานานกว่า 10 ปี สำหรับการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้
แต่อย่างไรก็ตาม “การใช้ซ้ำ” หรือ “การนำกลับมาใช้ใหม่” การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ ก็ยังคงเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าที่สุด และยังเป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป
.
ข้อมูลอ้างอิง: https://brandinside.asia/food-waste, http://www.deqp.go.th