...
รู้ไว้ดีกว่า! เชื้อ "อะแคนทามีบา" อันตรายแฝงน้ำประปา

รู้จักเชื้อปรสิต “อะแคนทามีบา” อันตรายแฝงในน้ำ!! หลังทำลูกบ้านคอนโดตาแดงเพียบ จากกรณีพบประชาชนป่วยโรคเยื่อบุตาอักเสบ และตาแดง จำนวน 200 คน ในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยจากการตรวจสอบพบเชื้ออะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ในน้ำประปา นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เชื้ออะแคนทามีบา (Acanthamoeba) เป็นเชื้อปรสิตที่ก่อโรคและพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ดิน ฝุ่นละออง ซึ่งก่อให้เกิดโรคได้ไม่บ่อย แต่ทุกคนสามารถติดเชื้อได้ ซึ่งอาการมักไม่รุนแรง โรคที่พบบ่อยที่สุดหากติดเชื้อนี้คือ กระจกตาอักเสบ (Acanthamoeba keratitis) โดยพบว่าผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อ และเกิดกระจกตาอักเสบ หากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ใส่ไม่ถูกสุขลักษณะ ใส่ในขณะที่ว่ายน้ำหรืออาบน้ำ รวมทั้งผู้ที่เคยมีประวัติกระจกตาอักเสบมาก่อน ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล แพ้แสง การมองเห็นลดลง สำหรับการติดเชื้อที่สมองหรือการติดเชื้อแบบแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งมีความรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านทางดวงตาโดยเฉพาะในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ทางบาดแผลที่ผิวหนัง การสูดหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอด ในส่วนของการป้องกันการติดเชื้อที่กระจกตา และการรักษา ทำได้โดยการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะก่อนสัมผัสดวงตา หลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ดวงตาได้ ใช้น้ำสะอาดในการอุปโภค บริโภค หลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือใช้ของร่วมกับคนที่ป่วยเป็นโรคตาแดง เพราะจะทำให้ติดต่อกันได้ง่าย ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์นั้น การดูแลรักษาความสะอาดคอนแทคเลนส์มีความสำคัญมาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปาหรือน้ำจืดในการล้างเลนส์ เชื้อนี้ถูกทำลายด้วยวิธีการเติมคลอรีนให้มีคลอรีนอิสระคงเหลือไม่ต่ำกว่า 0.2 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ควรไปรับการตรวจรักษาเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง กรณีมีการติดเชื้อ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ขอบคุณข้อมูล ข่าว #sanook -------------------------------------------------------------------------- ติดต่อขอรับบริการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Tel : 063-8435954 Sale น้ำ, 083-9915574 Sale อั้ม Email : info@testtech.co.th ID line : @testtech

...
การขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2)

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต โรงงานจำพวกที่ 3 ที่ประสงค์จะนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานต้องยื่น คำขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกบริเวณโรงงาน (สก.2) กรณีที่จะใช้วัสดุที่ไม่ใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิงทดแทนและเชื้อเพลิงผสม (รหัสกำจัด 041 และ 042) ซึ่งมาจากหน่วยการผลิตที่ไม่ทราบชนิดวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและ/หรือค่าความร้อนแน่ชัด ต้องมีผลวิเคราะห์ "  ค่าความร้อน (Heating value) " มาเป็นเอกสารประกอบ   บริษัท เทสท์ เทค จำกัด สามารถให้บริการตรวจวัด ค่าความร้อน ของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในอุตสาหกรรม ที่อยู่ในรูปของเหลวและของแข็งกึ่งเหลว (เช่น กากตะกอนน้ำมัน/ไขมัน/ไฮโดรคาร์บอน) ซึ่งวิธีทดสอบ หรือวิเคราะห์ด้วย เครื่องบอมบ์แคลอรีมิเตอร์ (Bomb Calorimeter) โดยได้รับอนุญาต จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565

คพ.สั่งตีกลับขยะเทศบาล 6 ตู้น้ำหนัก 294 ตันกลับประเทศต้นทาง

กรมศุลกากร ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ พบเอกชนสำแดงเท็จขยะเทศบาล 6 ตู้น้ำหนัก 294 ตันจากประเทศสหรัฐอเมริกา ผิดกฎหมาย 4 ฉบับห้ามนำเข้าไทย สั่งดำเนินคดีตามกฎหมาย และให้ตีกลับประเทศต้นทางทันที   นนี้ (11 ก.ย.2564) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กล่าวว่า กรณีการเข้าตรวจสอบสินค้าขาเข้า ณ ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ของบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด สำแดงผิดข้อเท็จจริง โดยสำแดงเป็นสินค้าเศษกระดาษไม่ได้แยกน้ำหนักรวม 294 ตัน จำนวน 6 ตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา แต่ผลการตรวจสอบสินค้าพบเข้าข่ายเป็นขยะเทศบาล มีความผิดตามม.202 ม.244 และ ม.252 พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2560 และพ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าพ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดให้ขยะเทศบาลเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้าและห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ.2562   " ผลการตรวจสอบพบเศษกระดาษที่นำเข้ามีการปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2 และจำเป็นต้องตู้สินค้าทั้งหมดส่งกลับประเทศต้นทาง"   ทั้งนี้ บริษัทฯ จะไม่มีการนำเข้าสินค้าจากบริษัทคู่ค้าดังกล่าวอีก รวมทั้งจะแจ้งหน่วยงานของประเทศต้นทางให้รับทราบ เพื่อจะได้กำกับบริษัทคู่ค้าในประเทศต้นทางให้ดำเนินการอย่างถูกต้อง ผู้ประกอบการทุกรายห้ามนำเข้าขยะพลาสติก หากพบจะถูกดำเนินคดีและขอให้ส่งกลับประเทศต้นทาง   ที่มา: https://news.thaipbs.or.th/content/307818

แปรน้ำเสียชุมชน เป็นกลไกเฝ้าระวังเชิงรุกการระบาดเชื้อโควิด-19 ต้นทุนต่ำ

ข้อเสนอใหม่ล่าสุดจากทีมนักวิจัยม.นเรศวร ว่าด้วยระบบการเฝ้าระวังเชิงรุกเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้วยเทคนิคด้านระบาดวิทยาน้ำเสีย (WBE) ซึ่งสามารถตรวจสอบผู้ติดเชื้อได้โดยไม่ต้องรอให้ถึงแสดงอาการล่วงหน้าถึง 3 – 14 วัน   (ภาพ : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ)   นวัตกรรมจาก “ระบาดวิทยาน้ำเสีย” “น้ำเสียชุมชนสามารถใช้ในการเฝ้าระวังติดเชื้อโควิดได้” ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เปิดเผยถึงแนวคิดหลักของทีมวิจัย สถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มน. ซึ่งรวมถึงรศ.ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล ดร.พญ.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์ ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ ดร.ศิริวรรณ วิชัย และดร.วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย “เชื้อที่ออกมาจากการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะจะมีความไวในการตรวจจับการติดเชื้อค่อนข้างสูง หากมีคนติดเชื้อแค่ 1 คนใน 20,000 คน ก็สามารถตรวจพบได้ ซึ่งนั่นจะทำให้เราสามารถแจ้งเตือนการระบาดของเชื้อล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องรอให้ตรวจเจออาการ คือสามารถตรวจพบจากเศษซากไวรัสในน้ำเสีย” ดร.ธนพล อธิบาย เปิดเผยและนำเสนอสู่สาธารณะผ่านเวทีเสวนาออนไลน์ “ตรวจไวรัสในน้ำเสีย” ระบบเตือนภัย ประเมินประสิทธิภาพวัคซีน และมาตรการเชิงรุกรับมือโควิดในชุมชน” ซึ่งจัดขึ้นวานนี้ (4 กันยายน 2564) โดย สถานความเป็นเลิศฯ ร่วมกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมและองค์กรเครือข่าย  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ โควิด-19 จำนวนผู้ติดเชื้อยังอยู่ในจำนวนหลักหมื่น มีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  “เรานำชุดความรู้วิศวกรรมประยุกต์ตรวจวัดหาสารพันธุกรรมโควิด-19 เพื่อจะได้มีส่วนช่วยการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสฯ ด้วยเทคนิค Wastewater-Based Epidemiology (WBE) หรือ ระบาดวิทยาน้ำเสีย เพื่อตรวจจับการติดเชื้อ จากน้ำเสียระบบท่อระบายส่วนกลาง เป็นการตรวจจับระดับชุมชน โดยดูจากเวฟหลั่งสารพันธุกรรม ขับถ่ายไปปรากฏท่อบำบัดน้ำเสีย  ถ้าเราสามารถจับเวฟนี้ได้ก่อนก็สามารถดำเนินมาตรการ ลดผู้ติดเชื้อได้โดยไม่ต้องรอให้ถึงแสดงอาการแล้ว ล่วงหน้าได้ 3 – 14 วัน มีความสำคัญตีมูลค่ามหาศาลในการดำเนินเศรษฐกิจ ในแต่ละวัน” ดร.ธนพล กล่าว “การนำ ‘วิทยาการตรวจวัดน้ำเสีย’ วิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมโควิด ที่สากล 55 ประเทศ นำเทคนิคไปใช้อย่างไรแพร่หลาย เพื่อช่วยเฝ้าระวัง แจ้งเตือนล่วงหน้า ช่วยติดตาม แต่วิธีนี้ยังเป็นองค์ความรู้ยังใหม่ในประเทศไทย มันเกินกว่าแค่คำว่างานวิจัย คือใช้เป็นการมอนิเตอร์ เฝ้าระวัง ชุมชนจริง การตรวจสอบสารพันธุกรรมในน้ำเสีย เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง เตือนภัยล่วงหน้าได้จริงในระดับชุมชน” ดร.ธนพล กล่าว ภาพ : unsplash   6 ศักยภาพ “ใช้งานจริง” ดร.ธนพลได้รวบรวมศักยภาพการใช้ประโยชน์จากการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครก “WBE” ดังนี้ ใช้เฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 และแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน กลุ่มอาหาหร (คอนโด) และอาคารทั่วไป (โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่ง ร้านอาหาร หรือสถานที่ราชการ) ใช้คาดการณ์ (คำนวณอย่างคร่าว ๆ) จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงออาการในระดับชุมชน หรือกลุ่มอาคาร ใช้ประเมินความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการเข้มงวด เช่นมาตรการล็อกดาวน์ เป็นต้น ใช้ประเมินความสำเร็จของการดำเนินมาตรกร เช่นมาตรการล็อกดาวน์ เป็นต้น ใช้ประเมินการติดเชื้อในชุมชนที่เพิ่มขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์  ใช้เฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในชุมชน โดยเฉพาะสายพันธุ์อันตรายใหม่ ๆ   ข้อมูล : Green News, https://greennews.agency/?p=25357  

กรมควบคุมมลพิษ ยืนยันห้ามนำเข้าเศษพลาสติก พร้อมผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์เศษพลาสติกในประเทศทั้งหมด ภายในระยะเวลา 5 ปี

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เน้นย้ำชัดเจนว่า ทส. มีนโยบายส่งเสริมการใช้เศษพลาสติกในประเทศให้มากที่สุด    มติเดิมที่มีการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกภายในปี 2563 ส่วนใหญ่เป็นเศษพลาสติกชนิด PET แต่ในการประชุมเมื่อมกราคม 2564 ได้พิจารณาครอบคลุมเศษพลาสติกทุกชนิด พบว่า มีเศษพลาสติกบางชนิดที่ไม่เพียงพอในประเทศ จึงเป็นที่มาในการกำหนดให้นำเข้าเศษพลาสติก แต่ให้นำเข้าเพียง 50% ของกำลังการผลิต หรือไม่เกิน 250,000 ตัน ในปี 2564 จะลดลงปีละ 20%   โดยในปี 2565 นำเข้าไม่เกิน 200,00 ตัน ปี 2566 ไม่เกิน 150,00 ตัน ปี 2567 ไม่เกิน 100,000 ตันปี 2568 ไม่เกิน 50,000 ตัน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก โดยให้มีการใช้เศษพลาสติกในประเทศ 100 %   กรมควบคุมมลพิษ ยืนยันห้ามนำเข้าเศษพลาสติก   นายอรรถพล กล่าวว่า ทส. ได้คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการนำเข้า เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นถังขยะโลกในการรองรับเศษซากขยะจากประเทศอื่น โดยกระทรวงพาณิชย์จะนำไปกำหนดเป็นเงื่อนไขในการออกประกาศอนุญาตผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าทุกราย สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าเศษพลาสติกประมาณ 70,000 ตัน ในระยะเวลาอันใกล้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเดียวกัน   กรมควบคุมมลพิษ ยืนยันห้ามนำเข้าเศษพลาสติก   "การพิจารณาผ่อนปรนการนำเข้าเศษพลาสติก ได้คำนึงถึงความสมดุลของทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ที่ต้องการนำเข้าและไม่ต้องการให้นำเข้าเศษพลาสติก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ภาครัฐจะเร่งส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะเพื่อให้ได้พลาสติกที่มีคุณภาพ ไม่ปนเปื้อน และสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบได้เลย รวมทั้ง จัดเวทีพบปะระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นคู่ขนานไปกับการลดการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป"   Cr: https://www.nationtv.tv/news/378832083

สหประชาชาติเผยรายงานภูมิอากาศโลก ชี้เป็น “สัญญาณเตือนสีแดง” สำหรับมนุษยชาติ

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติ เผยแพร่รายงานฉบับประวัติศาสตร์ ซึ่งเผยผลสรุปในการศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและภูมิอากาศโลกที่ผ่านมาทั้งหมด รวมทั้งคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต โดยพบว่ามนุษย์แทบจะไม่มีหวังในการแก้ปัญหาโลกร้อนได้เสียแล้ว รายงานดังกล่าวชี้ว่า กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ทำให้โลกเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบหลายพันปีที่ผ่านมา ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นหลายประการนั้น ไม่อาจจะแก้ไขให้หวนคืนสู่สภาพเดิมได้อีก รายงานความยาว 42 หน้ากระดาษนี้ใช้เวลาจัดทำถึง 8 ปี เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและครอบคลุมจากการประเมินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 14,000 ชิ้น โดยชี้ให้เห็นสภาพการณ์ที่เลวร้ายลงในหลายด้าน ซึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากชี้ว่าเป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ "อย่างไม่ต้องสงสัย" ที่มาของภาพ,JUSTIN SULLIVAN คำบรรยายภาพ, ความแห้งแล้งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทำให้น้ำในทะเลสาบ Oroville ลดระดับลงต่ำสุด รายงานกล่าวถึงอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยทั่วโลกตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปรากฎว่าสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมหรือระหว่างปี 1850 - 1900 อยู่ราว 1.09 องศาเซลเซียส โดยนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มาจนถึงปัจจุบัน อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าช่วงกึ่งศตวรรษใด ๆ ในรอบ 2,000 ปีก่อนหน้านี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โลกมีสภาพอากาศร้อนทำลายสถิติสูงสุดที่เคยบันทึกไว้นับตั้งแต่ 170 ปีก่อน รวมทั้งคลื่นความร้อนและสภาพอากาศร้อนจัดสุดขั้วก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา ในขณะที่สภาพอากาศหนาวเย็นเริ่มจางหายไป ระดับน้ำทะเลในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 3 เท่า เมื่อเทียบกับสถิติของช่วงปี 1901-1971 ส่วนการลดลงของปริมาณน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก และการหดหายละลายตัวของธารน้ำแข็งทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ล้วนปรากฏชัดว่าเป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ถึง 90% เลยทีเดียว สภาพการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบที่เลวร้ายเกินกว่าที่เคยคาดกันไว้หลายประการ โดยภายในเวลาไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกจะร้อนขึ้นเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.5 องศาเซลเซียสอย่างแน่นอน ซึ่งเท่ากับว่าเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวตามความตกลงปารีส มีแนวโน้มอย่างมากที่จะไม่เป็นผลสำเร็จ เว้นแต่ทุกชาติจะร่วมกันทุ่มเททรัพยากรทุกด้านอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อแก้ปัญหาในทันทีเท่านั้น     คำบรรยายภาพ: ผู้ประท้วงในสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้บรรดานักการเมืองลงมือแก้ปัญหาโลกร้อน ก่อนถึงการประชุม COP26   สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอีกประการหนึ่ง ก็คือเขตอาร์กติกจะไม่มีน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนหรือเดือนกันยายน ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนถึงปี 2050 สภาพอากาศแบบสุดขั้วเช่นฝนตกหนักจนน้ำท่วมและความแห้งแล้งรุนแรงชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ จะปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ แม้อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสไปแล้วก็ตาม สภาพอากาศผิดปกติที่เกิดจากไฟป่าครั้งใหญ่จะพบได้มากขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก ส่วนการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของระดับน้ำทะเลอย่างรุนแรง ชนิดที่ในอดีตจะพบได้เพียงครั้งเดียวในรอบศตวรรษนั้น ภายในปี 2100 จะพบเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทุกปี ที่จุดตรวจวัดกระแสน้ำกว่าครึ่งของที่นักวิทยาศาสตร์ได้วางเอาไว้ทั่วโลก โดยมีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เมตรก่อนสิ้นศตวรรษนี้ และเพิ่มขึ้น 5 เมตร ภายในปี 2150 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่จะมีประชาชนผู้อยู่อาศัยตามแนวชายฝั่งได้รับความเดือดร้อนหลายล้านคน นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติแถลงว่า รายงานของ IPCC ที่เผยแพร่ออกมาล่าสุดนี้ เปรียบเสมือน "สัญญาณเตือนสีแดง" สำหรับมนุษยชาติ นายกูเตอร์เรสเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกันเสียแต่บัดนี้ เพื่อขจัดปัดเป่าหายนะภัยจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งผู้นำของชาติต่าง ๆ ควรจะนำข้อมูลจากรายงานข้างต้นไปวางแนวทางแก้ปัญหาเสียใหม่ เพื่อผลักดันให้การประชุมสุดยอดด้านภูมิอากาศ COP26 ที่มุ่งแก้ไขภาวะโลกร้อน ซึ่งจะมีขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ของสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายนนี้ ประสบความสำเร็จ ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้จัดทำรายงานของ IPCC แสดงความเห็นว่า แม้สภาพการณ์โดยทั่วไปจะเลวร้าย แต่ก็ยังคงมีความหวังว่าชาติต่าง ๆ จะตัดลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากระดับปัจจุบันลงได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 และหยุดปล่อยคาร์บอนได้อย่างสมบูรณ์ (net zero) ภายในช่วงกลางศตวรรษนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อถึงจุดดังกล่าว อุณหภูมิโลกจะไม่เพิ่มสูงขึ้นอีกต่อไป และมีโอกาสจะทำให้กลับคืนสู่ระดับที่เย็นลงได้   Cr: BBC NEWS Thai | https://www.bbc.com/thai/international-58147469

ห่วงขยะติดเชื้อโควิดพุ่ง! หลังเริ่มใช้ชุดตรวจ-กักตัว Home Isolation

กรมอนามัย แนะผู้ที่แยกกักตัวที่บ้าน กำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย COVID-19 และชุดตรวจ Antigen Test Kit ให้ถูกวิธี หลังพบช่วงเดือนมิ.ย.นี้ขยะติดเชื้อเพิ่มสูงถึง 210 ตันต่อวัน วันนี้ (16 ก.ค.2564) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้มีมูลฝอยติดเชื้อช่วงม.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา รวม 31,709.84 ตัน เฉพาะมิ.ย.พบปริมาณมูลฝอยติดเชื้อสูงที่สุดเฉลี่ย 210 ตันต่อวัน ทั้งนี้จากการหารือนโยบายแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) อาจทำให้ขยะมูลฝอย และมูลฝอยติดเชื้อจากครัวเรือนมากขึ้น ทั้งที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู และภาชนะใส่อาหารพร้อมบริโภคแบบใช้ครั้งเดียว   “ โดยเฉพาะ Antigen Test Kit ถือเป็นมูลฝอยที่มีความเสี่ยงสูง จึงต้องมีการแยกจัดการจากขยะทั่วไป เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยประชาชนที่มีการใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ขอให้กำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดการแพร่กระจายของ COVID–19” ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่  https://news.thaipbs.or.th/content/306137 https://news.thaipbs.or.th/content/303322 https://news.thaipbs.or.th/content/303970

UK ประกาศยุติผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเร็วขึ้นอีก 1 ปี หวังส่งผล COP26

สหราชอาณาจักร (United Kingdom, UK) ประกาศยุติการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินภายในตุลาคม 2567 ซึ่งเร็วขึ้นจากกำหนดเดิม 1 ปี หวังกระตุ้นผู้นำประเทศทั่วโลกร่วมลดปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม และเห็นผลในเวทีเจรจาโลกร้อน COP26 ที่จะจัดขึ้นปลายปีนี้ และสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพ     ยุติเร็วขึ้นหนึ่งปี แอน มารี เทร็ฟเวเลียน รัฐมนตรีด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกาศว่าสหราชอาณาจักรจะยุติการใช้ถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2567 ซึ่งจะเร็วกว่าที่วางแผนไว้ก่อนหน้านี้ 1 ปี  “นับเป็นก้าวสำคัญในแผนของรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่จะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานและเลิกมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในปีพ.ศ.2593   ส่งสัญญาณผู้นำทั่วโลกร่วมลงมือ “เป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรที่ได้ประกาศไว้เมื่อปีที่แล้วว่าจะเร่งยุติการผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาถ่านหินให้เร็วยิ่งขึ้น  ตอกย้ำให้เห็นความเป็นผู้นำที่จะขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เร็วกว่าและล้ำหน้ากว่าประเทศอื่น ๆ โดยดำเนินการเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อนถึงการประชุม COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ในเดือนพฤศจิกายนนี้ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้สหราชอาณาจักรขอเรียกร้องให้ประเทศอื่น ๆ เร่งการยุติการใช้พลังงานจากถ่านหินเช่นเดียวกัน พลังงานถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดตัวหนึ่งและเป็นตัวการที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ หากยุติการใช้พลังงานถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ สหราชอาณาจักรจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยจำกัดอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เมื่อปี 2563 สหราชอาณาจักรมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินคิดเป็นร้อยละ 1.8 ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนร้อยละ 40 เมื่อเกือบสิบปีก่อน การประกาศนี้ออกมาก่อนที่รัฐมนตรีด้านพลังงานฯ เทร็ฟเวเลียนจะขึ้นกล่าวในงานประชุม Powering Past Coal Alliance (PPCA) Europe Roundtable ในวันที่ 30 มิถุนายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์แห่งการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศลอนดอน (London Climate Action Week) โดยเธอได้กล่าวถึงความสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ จะต้องยุติการให้เงินสนับสนุนพลังงานถ่านหิน และแนวทางการดำเนินงานที่บริษัทเอกชนจะสามารถร่วมผลักดันประเด็นนี้ได้” ข่าวแถลงฯ ระบุ     อ่านเพิ่มเติม : https://greennews.agency/?p=24260 (Green News)

logoTEST TECH

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
30, 32 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 63 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร: 02-893-4211-17, 087-928-5554
แฟกซ์: 02-893-4218
อีเมล: info@testtech.co.th, wanwalee.d@testtech.co.th
เราใช้คุกกี้ในเว็บไซต์ของเราเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์ และเพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสําหรับคุณ โปรดอ่านนโยบายการใช้คุกกี้ เมื่อคุณเข้าใช้เว็บไซต์นี้เราถือว่าคุณยินยอมให้จัดเก็บและเข้าถึงคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ
3000
4900
th