ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยืนยันแอปพลิเคชัน Air4thai ตั้งค่าเฉลี่ยตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ตามมาตรฐานสากล มีสถานีตรวจวัดฝุ่นที่ป้อนค่าสารมลพิษ 6 รายการ ประมวลผลตามหลัก US-EPA ก่อนจะรายงานเพื่อแจ้งข้อมูลประชาชน

กรณีการแชร์ข่าวแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ไม่ได้มาตรฐาน ล่าสุดวันนี้ (13 พ.ย.2563) ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง และไม่ได้ตั้งค่าเฉลี่ยตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ต่ำกว่ามาตรฐานสากล ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าว ว่า เครื่องมือในการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองที่นำมาใช้ในการเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน Air4thai ยึดค่ามาตรฐาน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนด และสอดคล้องกับการรายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศแต่ละชนิดตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลกใช้ โดยอิงจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (USEPA) โดยเฉพาะค่าฝุ่น PM2.5 จะวัดทั้งค่ารายชั่วโมง และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก.ต่อลบ.ม.)   “ขอให้ประชาชนมั่นใจในคุณภาพแอปพลิเคชัน Air4thai ว่าไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐานแน่นอนโดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 อิงค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก.ต่อลบ.ม. ซึ่งบางคนอาจจะแย้งเรื่องเครื่องวัดฝุ่นจิ๋วที่นำมาใช้ แต่ต้องเข้าใจว่าเครื่องวัดฝุ่นแบบพกพาไม่ได้ใส่ข้อมูลสารมลพิษชนิดอื่นด้วย”   ชี้สถานีวัดฝุ่น PM 2.5 ได้มาตรฐาน                   อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ทั้งนี้สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของคพ.และของกทม.มีกระจายทั่วประเทศ และตัวสารมลพิษทางอากาศที่นำมาประมวลผลมีทั้ง PM2.5 ฝุ่น PM10 ก๊าซโอโซน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะทำให้การคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศออกมาแม่นยำขึ้น                    “Air4thai ไม่ใช่แค่เครื่องมือวัดแบบทั่วไป แต่มีสถานีตั้งและยึดหลักทางวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ตัวอย่างทางอากาศ ส่วนแบบเครื่องพกพา ถามว่ารับรองจากใคร แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าประชาชนใช้อุปกรณ์แบบนั้นไม่ได้ แต่ขอให้ดูจากค่ามาตรฐานกลาง ”   ขณะที่การแจ้งเตือนประชาชน และระดับการแก้ปัญหาจากเบาไปหาหนักว่าต้องทำอะไรในกรณีที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ซึ่งถ้าเกิน 51-75 มคก.ต่อลบ.ม. หน่วยงานต้องดำเนินมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ระดับที่ 3 ระหว่าง 76-100 ผู้ว่าฯกทม./จังหวัดจะเป็นผู้บัญชาเหตุการณ์โดยใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องควบคุมพื้นที่ และควบคุมแหล่งกำเนิดกิจกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษ และถ้าเกิน 100 ต้องเสนอระดับกรรมการมลพิษ และบอร์ดสิ่งแวดล้อม พิจารณาสั่งการ       ทีมา : กรมควบคุมมลพิษ

‘คามิคัตสึ’ โมเดลเมืองต้นแบบของโลก “ขยะเป็นศูนย์”

คามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุของญี่ปุ่น มีกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพ อย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท จากการนำแนวคิด Zero Waste พร้อมกับใช้หลักการง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้โดยการ ลดขยะ (reduce) รีไซเคิล (recycle) และการใช้ซ้ำ (reuse) จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นเมืองต้นแบบที่ปลอดขยะของโลก  ในปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้สุดท้าทาย คือการเป็นเมืองที่ปลอดขยะ 100% ซึ่งตอนนี้เมืองคามิคัตสึสามารถจัดการขยะได้กว่า 80 % ที่เหลืออีก 20 % จัดการด้วยการฝังกลบ โดยส่วนที่เป็นขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์ก็ถูกแปรรูปหมักเป็นปุ๋ยหมัก ทั้งแบบหมักในถังพลาสติกและย่อยสลายในถังไฟฟ้า Zero Waste Academy เมืองคามิคัตสึ เป็น 1 ใน 8 เมือง Zero Waste ของญี่ปุ่นที่ถูกยกเป็นโมเดลเมืองปลอดขยะ ที่นี่นำแนวคิด Zero Waste มาใช้เมื่อปี 2003 ในช่วงแรกก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำโดยง่ายดายเพราะต้องเริ่มด้วยการเข้าไปทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยให้เริ่มจากการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน พร้อมกับการจัดตั้งสถานีแยกขยะไว้ในชุมชน ซึ่งหนึ่งในกลไกสำคัญที่ทำให้เมืองคามิคัตสึกลายเป็นมืองปลอดขยะ คือ ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ หรือ Zero Waste Academy องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ให้ความรู้และมีระบบบริหารจัดการ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่าเมืองคามิคัตสึ มีการจัดการปัญหาขยะ 2 แบบ คือ 1. ใช้พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย 2. เป็นแบบใช้ถังขยะเปียกเพื่อหมักขยะในบ้าน โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น เครื่องหมักขยะราคา 52,000 เยน รัฐบาลจะช่วยออก 40,000 เยน และ ประชาชนจ่ายแค่ 10,000 เยน ด้วยวิธีนี้ทำให้ขยะเปียกของที่นี่ถูกกำจัดได้หมด จึงถือว่าเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่รัฐจะต้องเข้ามาสนับสนุน (Subsidy) ส่วนขยะแห้งต้องมีการแยกขยะที่บ้าน และชาวบ้านต้องนำมาส่งเพื่อแยกอีกทีที่ศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะ ที่เรียกว่า Zero Waste Academy ทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการจัดการขยะในทุกๆด้าน โดยมีหลักการ/แนวคิด (Concept) ว่าไม่มีขยะ หรือ Zero Waste ซึ่งหมายถึง สิ่งของทุกชิ้นยังมีคุณค่าไม่ใช่ของที่จะทิ้ง แต่สามารถปรับปรุงหรือรีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งคนญุี่ปุ่นจะมีเป็นคนที่เคารพกฎหมายมาก การทิ้งขยะของคนญุี่ปุ่น มีความเข้มงวดถึงขนาดว่าต้องมีการจ่ายเงินเพื่อการจัดการขยะ เช่น หากต้องการทิ้งขยะต้องไปซื้อสแตมป์ซึ่งเท่ากับเป็นการจ่ายค่าจัดการขยะตามราคาของสิ่งของที่จะทิ้ง “การทิ้งขยะของญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะต้องเสียเงิน หรือใช้ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต Extended Producer Responsibility; EPR) ซึ่งแม้แต่การซื้อรถของญุี่ปุ่นก็มีการบวกค่าจัดการขยะไว้แล้ว ทำให้คนญี่ปุ่นหันมาใช้รถสาธารณะ เห็นได้ว่าการจัดการบริหารขยะแบบประเทศญุี่ปุ่น เพื่อที่จะก้าวไปเป็น Zero Waste นั้นต้องมีการบูรณาการในทุกๆ ด้านทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม รวมถึงต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม” เลขาธิการสช. กล่าว ถังขยะเปียกเพื่อหมักขยะในบ้าน ภาครัฐให้การสนับสนุน มีการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งข้าวเขียวขจีและป่าภูเขาบนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของญี่ปุ่น ด้วยผู้อยู่อาศัยน้อยกว่า 1,700 คน ที่นี่จึงเป็นหมู่บ้านที่เล็กที่สุดบนเกาะแห่งนี้ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านได้เป็นข่าวไปทั่วโลก ทั้งนี้เป็นเวลาหลายสิบปีที่หมู่บ้านแห่งนี้มีความคิดที่จะจัดการขยะ โดยติดว่าจะใช้เตาเผาขยะหรือฝังดิน อย่างไรก็ตามโครงการที่ใช้เตาเผาขยะได้ถูกล้มเลิกไป ทำให้หมู่บ้านต้องทบทวนแผนยุทธศาสตร์กำจัดขยะกันใหม่ จนกลายเป้าหมายที่ท้าทายและสูงส่ง นั่นคือการเป็นเมืองที่มีปลอดขยะ 100% ภายในปี 2563 ทุกวันนี้ขยะมากกว่า 80% ของเมืองไม่ต้องนำไปเผาและฝังกลบอีกต่อไปแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ง่าย ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติอย่างจริงจัง “ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวและนักพัฒนาที่อยากมาดูการจัดการขยะ ในแต่ละปีมีคนมาท่องเที่ยวที่นี่จำนวนมาก ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนที่นี่ แทบไม่น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ทิ้งขยะจากกลุ่มคนเล็กจะส่งสามารถมี impact ที่ีดีแบบนี้ต่อทั่วโลกได้ “ อาริกะ ประธาน Zero Waste Academy กล่าว อาริกะ ประธาน Zero Waste Academy   ที่มา : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27503 https://citycracker.co/city-environment/kamikatsu-zero-waste/

อินเดียทรุดหนักเหตุ บ่อน้ำมันระเบิดไฟท่วม! รุนแรงหนักยังดับไม่ได้ เกิดเหตุมิถุนา กินเวลา 5 เดือนแล้ว เสียหายหนัก ผู้คน-สัตว์ตายสลด เกิดเหตุมิถุนา กินเวลา 5 เดือนแล้ว เสียหายหนัก ผู้คน-สัตว์ตายสลด

เหตุเพลิงไหม้และระเบิดที่เกิดจากบ่อก๊าซน้ำมันรั่วเมื่อวันที่ 9 มิถุยายน ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และสภาพจิตใจของผู้คน ส่วนเพลิงไฟยังคงลุกไหม้จนถึงทุกวันนี้เป็นเวลารวมทั้งหมด 150 วัน ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดียเลยก็ว่าได้ • เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใน บากฮ์จาน (Baghjan) เขต ตินซูเกีย (Tinsukia) บ่อน้ำมันของบริษัท Oil India Limited (OIL) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย รั่วจนเกิดไฟไหม้ และระเบิดที่รุนแรงในเวลาต่อมา • มีนักดับเพลิงเสียชีวิตในวันแรกที่เกิดเหตุ 2 ราย และวิศวกรของบริษัท OIL เสียชีวิต 1 รายในขณะที่พวกเขากำลังพยายามดับไฟ • ผู้คนกว่า 3,000 ต้องถูกบังคับให้อพยพไปที่ศูนย์หลบภัย เพราะบ้านเรือนถูกไฟเผาไหม้ไปหมด • ซึ่งหลังจากเกิดเหตุ ทางบริษัท OIL กล่าวว่าพวกเขาได้มอบเงินกว่า 2.5 ล้านรูปี หรือประมาณ 1 ล้านกว่าบาท ชดเชยให้ครอบครัวผู้ได้รับความเสียหายที่ต้องเสียบาท และยังคงมอบเงินค่ากินอยู่ให้อีก 50,000 รูปีหรือประมาณ 20,000 กว่าบาทต่อเดือนแก่ครอบครัวที่ต้องย้ายไปอยู่ศูนย์หลบภัย • แต่ชาวบ้านยังคงประท้วง และต้องการให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน • Dandeshwar Borah ชาวนาวัย 40 ปี ที่อยู่ในศูนย์หลบภัยกล่าวว่า “พวกเราได้รับเงินชดเชยจากบริษัทค่ากินอยู่ แต่ยังไม่ได้เงินชดเชยสำหรับผลผลิตที่หายไปกับกองเพลิง” • ตอนนี้ผู้คนเริ่มกลับมาอยู่ที่บ้านในละแวกเดิมแล้ว แต่สำหรับครอบครัวที่บ้านอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุยังคงอยู่ศูนย์หลบภัยชั่วคราว เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถดับไฟได้สนิท • นักข่าวท้องถิ่น Nawantil Urang อธิบายถึงสภาพแวดล้อมของที่เกิดเหตุว่า “ความร้อน ควัน และเสียงไฟปะทุทำให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อันตราย ชาวบ้านหลายคนร้องเรียนว่าพวกเขาอยู่ลำบาก บางคนมีโรควิตกกังวล มีอาการไมเกรน ไม่อยากอาหาร และรู้สึกแสบตา” • Bijit Bordoloi ผู้จัดการบริษัทเกี่ยวกับไฟฟ้า พ่อของวิศวกรผู้เสียชีวิตก็ไม่พอใจกับ OIL เขากล่าวว่า “เรายังมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการตายของลูกชายผม OIL ยังไม่เคยออกมาชี้แจ้ง สิ่งหนึ่งที่สงสัยคือประเด็นของ Arnab (ผู้ตาย) ที่เป็นบุคคลากรใหม่ในองค์กร และยังไม่ได้ถูกรับรองให้แก้ไขปัญหาหรือจัดการปัญหาดังกล่าว” • ทาง OIL กล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งไฟไหม้และระเบิดแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับบ่อน้ำมันทั่วโลก ถึงกระนั้น พวกเขาทราบดีว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแน่ๆ แต่ระบุว่ามันจะไม่เกิดขึ้นนานนัก • “เพราะว่าด้วยธรรมชาติของก๊าซ และการควบแน่น มันจะระเหยและถูกฝนชะล้างไป ดังนั้นก๊าซพวกนี้จะไม่ส่งผลระยะยาวไม่ว่าจะต่ออากาศหรือดิน” Tridiv ผู้จัดการอาวุโสผ่ายประชาสัมพันธ์ของ OIL กล่าว • อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลอัสสัมเผยกับสำนักข่าว BBC ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภัยคุกคามแก่ระบบนิเวศในท้องถิ่น • “การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งต้องใช้เวลาซ่อมแซมหรือรักษาเป็นเวลาหลายปี ประมาณ 3 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุมีแหล่งระบบนิเวศสำคัญๆ อยู่บ้าง” ผู้เชี่ยวชาญคนดังกล่าวที่ไม่ได้เปิดเผยชื่อชี้ • ขณะนี้ทาง OIL กำลังใช้วิธี Snubbing ที่นำบ่อน้ำมันหนักมาใช้ ซึ่งหวังว่าจะดับไฟทั้งหมดได้ภายในกลางเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนนี้ ถึงแม้ว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้เท่าไหร่ • สำหรับบ่อน้ำมันที่เกิดเหตุ มันตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ “Dibru-Saikhowa” กับหนองน้ำ “Maguri Motapung” ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ุหลายชนิด ทั้งเสือ โลมา และช้าง • นักสิ่งแวดล้อมได้ออกมาเตือนหลังจากเกิดเหตุว่า สัตว์ป่ากำลังได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อน มีสารปนเปื้อนลงไปสู่แหล่งน้ำทั้งในหนองน้ำและในอุทยาน • ที่มา:  https://www.bbc.com/news/world-asia-india-54719286 https://www.thairath.co.th/news/foreign/1866912 Facebook Page: Environman

เทสท์ เทค สามารถตรวจวิเคราะห์ “สารกำจัดศัตรูพืช” ออร์กาโนคลอรีน (organochlorine)

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด สามารถให้การตรวจวิเคราะห์ “สารกำจัดศัตรูพืช”  ที่อันตรายและตกค้างยาวนาน ในกลุ่มออร์กาโนคลอรีน  ขอบข่ายสารมลพิษที่ได้รับขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสีย   ลำดับที่ สารมลพิษ วิธีวิเคราะห์ 1 Aldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 2 Arsenic Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 3 α-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 4 β-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 5 δ-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 6 γ-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 7 Chlordane Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 8 4,4’-DDD Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 9 4,4’-DDE Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 10 4,4’-DDT Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 11 Dieldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 12 Endosufan I  Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 13 Endosufan II Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 14 Endosufan Sulfate Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 15 Eldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 16 Eldrin Aldehyde Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 17 Heptachlor Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 18 Heptachlor epoxide Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 19 Selenium Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method   น้ำใต้ดิน ลำดับที่ สารมลพิษ วิธีวิเคราะห์ 1 Aldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 2 Arsenic Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 3 α-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 4 β-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 5 γ-BHC Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 6 Chlordane Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 7 DDD Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 8 DDE Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 9 DDT Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 10 Dieldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 11 Endosufan Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 12 Eldrin Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 13 Heptachlor Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 14 Heptachlor epoxide Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method 15 Selenium Gas Chromatographic/Mass Spectrometric Method   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม TEL: 02-893-4211-17, 087-928-5554 FAX: 02-893-4218 info@testtech.co.th Facebook: TestTech

เปลี่ยนขยะเศษอาหารที่ไร้ค่า ให้กลับมามีประโยชน์ ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์

รู้หรือไม่ว่า??? ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤติปัญหาขยะจำนวนมหาศาลประมาณ ๒๘ ล้านตันต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นขยะตกค้างที่ไม่สามารถกำจัดได้ ๕.๘ ล้านตัน และที่สำคัญมีขยะเศษอาหารสูงถึง ๔ ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ ๖๐ ของปริมาณขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้ลองนึกภาพดูว่า มันจะน่ากังวลขนาดไหน กับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากขยะเหล่านี้ที่กำจัดไม่ได้ ทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม นับเป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ในวันนี้มีนวัตกรรมที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยอุปกรณ์ที่ชื่อว่า เครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติซึ่งได้รับการพัฒนาจนสำเร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยทีมวิจัยจากฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันนวัตกรรม ปตท.ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ ทีมวิจัยคัดเลือกและพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยสลายขยะเศษอาหาร โดยเชื้อจุลินทรีย์จะทำงานร่วมกับเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติที่มีความสามารถในการควบคุมสภาวะของเชื้อจุลินทรีย์ให้ทำงานย่อยสลายขยะเศษอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไร้กลิ่นเหม็นรบกวนและเชื้อรา สำหรับตัวเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติที่ว่านี้ จะมีส่วนประกอบการทำงานอยู่ ๒ ส่วนหลักๆ คือ ส่วนย่อยสลายเศษขยะอาหาร และส่วนดูดซับกลิ่น มีศักยภาพในการรองรับปริมาณเศษขยะได้สูงสุดถึง ๕ กก. ต่อวัน แถมตัวเครื่องยังมีขนาดที่กล่าวได้ว่าประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เพราะทั้งด้านกว้าง ยาว และสูงไม่เกิน ๑ ม. นอกจากนี้ ยังมีระบบการทำงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะระบบควบคุมสภาวะต่างๆ ได้รับการติดตั้งไว้อย่างอัตโนมัติแล้ว ผู้ใช้งานเพียงแค่เปิดเครื่อง และใส่ขยะเศษอาหารพร้อมเชื้อจุลินทรีย์ของ ปตท. ได้ทันที และที่สำคัญเหนือสิ่งใด คือ นอกจากจะช่วยย่อยสลายขยะเศษอาหารแล้ว นวัตกรรมชิ้นนี้ยังทำให้ขยะเศษอาหารซึ่งเป็นของเหลือทิ้ง เกิดประโยชน์ขึ้นมาอีกด้วย เพราะหลังจากย่อยสลายขยะเศษอาหารด้วยเชื้อจุลินทรีย์ตามกระบวนการขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ผ่านไป ๑๒ ชม. เราจะได้วัสดุปรับปรุงดิน (Bio-Soil) ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์แล้วว่า มีธาตุอาหาร NPK และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมทั้งบำรุงฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพให้กลับมามีคุณภาพอีกครั้งทั้งนี้ นวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติติดตั้งทดสอบการใช้งานจริงแล้วที่อาคารบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงเวลาเพียง ๒ เดือนสามารถลดขยะเศษอาหารได้มากถึง ๑๓๙.๖ กก. และสามารถเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ทั้งหมด ๒๙.๐๖ กก. ก่อนจะนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ที่บริเวณอาคารจอดรถ ๒ จากความสำเร็จดังกล่าวนี้ สถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงได้ร่วมมือกับบริษัท อินทรีย์ อีโคไซเคิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการจัดการของเสียอย่างครบวงจร ร่วมกันผลักดันนวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัตินี้ในการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ในการใช้งานในวงกว้างต่อไป จากขยะเศษอาหารที่ไร้ค่า แถมเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคน กลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วย Social Innovation ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง   ที่มา https://mgronline.com/qol/detail/9630000097843

กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หลังจากผลการศึกษาจากอิตาลีพบว่ามีพลาสติกขนาดจิ๋วที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก สะสมอยู่ในผักและผลไม้ที่เรานิยมบริโภคกัน

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาตาเนีย ในแคว้นซิซิลี ตีพิมพ์ผลการศึกษาชิ้นนี้ในวารสาร Environmental Research โดยระบุว่า พบไมโครพลาสติกอยู่ในผักผลไม้ต่าง ๆ เช่น ผักรับประทานใบ ประเภทผักกาดหอม รวมทั้ง บรอกโคลี มันฝรั่ง และลูกแพร์ แต่พืชที่พบอนุภาคพลาสติกสะสมอยู่ในระดับสูงที่สุดได้แก่ แอปเปิล และแครอท   ทีมนักวิจัยเชื่อว่านี่เกิดจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "หยาดน้ำฟ้า" (precipitation) ซึ่งหมายถึงหยดน้ำ และน้ำแข็ง ที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกกลับมาสู่พื้นโลกในรูปของ น้ำฝน ลูกเห็บ และหิมะ เป็นต้น พวกเขาชี้ว่า ไมโครพลาสติกที่อยู่ในมหาสมุทรได้เกิดกระบวนการดังกล่าว แล้วไปจับตัวอยู่ในเมฆ จากนั้นได้ตกกลับสู่พื้นโลกโดยปนเปื้อนอยู่ในน้ำฝน แล้วพืชได้ดูดซับเอาไมโครพลาสติกเข้าไปทางราก ทีมนักวิจัยพบว่า ผลไม้มีระดับไมโครพลาสติกสะสมอยู่มากกว่าผัก เนื่องจากเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีรากใหญ่ที่หยั่งลงไปในดินได้ลึกกว่าผัก ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES คำบรรยายภาพ, ไมโครพลาสติกที่พบอยู่ในมหาสมุทร ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นของทีมนักวิทยาศาสตร์ในจีนและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability โดยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า รากของผักกาดและข้าวสาลีสามารถดูดซับไมโครพลาสติกได้ แล้วส่งอนุภาคพลาสติกไปยังส่วนที่กินได้ซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยระบุว่า ระดับของไมโครพลาสติกที่พบสะสมอยู่ในผักและผลไม้นั้น ยังมีปริมาณน้อยกว่าไมโครพลาสติกที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกเสียอีก   ไมโครพลาสติกคืออะไร ไมโครพลาสติก เป็นอนุภาคขนาดจิ๋วของพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 5 มิลลิเมตร ไมโครพลาสติก เกิดจากพลาสติกชิ้นใหญ่กว่าที่สลายตัวออกจากกัน เช่น ขวดพลาสติก ถุงและภาชนะพลาสติกที่สลายตัวในดินหรือทะเล แล้วก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มาเรีย เวสเตอร์บอส ผู้ก่อตั้งกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชื่อ Plastic Soup Foundation กล่าวว่า "เราทราบกันมาหลายปีแล้วเรื่องการพบพลาสติกในสัตว์น้ำเปลือกแข็งและปลา แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ได้ทราบว่าพลาสติกเข้าไปสะสมอยู่ในผัก" "ถ้ามันเข้าไปสะสมอยู่ในพืชผักต่าง ๆ ได้ ก็เท่ากับว่ามันจะเข้าสู่สิ่งมีชีวิตทุกอย่างที่กินพืช ซึ่งหมายถึงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ" "สิ่งที่เราต้องค้นหาคือมันจะส่งผลต่อพวกเราอย่างไร" เวสเตอร์บอส กล่าว ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การบริโภคไมโครพลาสติกเข้าไปจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของคนเรา แต่หลายฝ่ายชี้ว่าข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเรื่องที่ "น่ากังวล"   ที่มา: BBC NEW

จากกรณีเกิดเหตุคนงานดูดสิ่งปฏิกูลเสียชีวิต เนื่องมาจากสภาวะการขาดอากาศหายใจ ในขณะที่ลงไปทำงานภายใน บ่อเกรอะ ที่สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2563 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งหมด 3 ราย เป็นชายอายุ 36 ปี 16 ปี และ 14 ปี ตามลำดับ

  เหตุการณ์ดังกล่าวฯ สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงานทั้ง 3 ราย โดยอาจเป็นไปได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดเสียชีวิตจากสภาวะการขาดอากาศหายใจ ซึ่งน่าจะมาจาก ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า ซึ่งเป็นก๊าซไวไฟที่มีความเป็นพิษสูง มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศ ก่อให้เกิดการสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณล่างของถังที่มีอากาศถ่ายเท ไม่สะดวก ทำให้ปริมาณออกซิเจนน้อย เมื่อผู้ปฏิบัติงาน ลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ดังกล่าวฯ และมีการสูดดมก๊าซ จะทำให้หมดสติ ขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตได้         เหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว ได้เคยเกิดขึ้นในอดีตมาหลายครั้ง และมักมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 รายในแต่ละครั้ง ที่เกิดเหตุ จากข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ซึ่งรวบรวมสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่อับอากาศระหว่างปี 2546-2561 จำนวน 62 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 130 ราย หรือเฉลี่ย 2 รายต่อเหตุการณ์ โดยเหตุดังกล่าวมักเกิดจากความผิดพลาด ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการขออนุญาตในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และผู้ปฏิบัติงาน ในภาวะการทำงานปกติ และเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งขาดการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด   แนวทางการป้องกันแก้ไข ต้องขออนุญาตเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนลงมือทำงาน พร้อมแจ้งรายชื่อ อายุ  ของผู้ปฏิบัติงาน  วัน เวลา และสถานที่/ตำแหน่ง ที่จะเข้าทำงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากเจ้าของสถานประกอบกิจการ   การปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ และผู้เฝ้าระวังในการทำงานในที่อับอากาศ ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ   ต้องมีการตรวจวัดสภาพบรรยากาศในที่อับอากาศก่อนเริ่มการปฏิบัติงาน เช่น ปริมาณออกซิเจน ปริมาณก๊าซที่ติดไฟได้ (%LEL) และก๊าซพิษอื่น ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการระบายอากาศ หากมีสภาพบรรยากาศที่เป็นอันตราย   จัดทำแผนฉุกเฉิน และจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน หากเกิดกรณีฉุกเฉิน ในที่อับอากาศ     ข้อมูลอ้างอิง กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ข้อมูลสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตในที่อับอากาศ จากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

อ่างใหม่ไม่ช่วยแล้ง ชี้ทางออกปัญหาน้ำ EEC ต้องรีไซเคิลน้ำ – ปรับปรุงประสิทธิภาพชลประทาน

นักวิชาการเสนอ ปัญหาน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ต้องแก้ด้วยการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนบริหารจัดการต้นทุนทรัพยากรน้ำที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมเตือนว่า แนวทางแก้ปัญหาน้ำของภาครัฐโดยการเร่งเดินหน้าสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ ไม่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ช่วยเติมทรัพยากรน้ำ แถมซ้ำเติมปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ภายหลัง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยข้อสั่งการของ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ได้มอบหมายให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดแผนงานก่อสร้าง 17 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำที่จะยิ่งเพิ่มขึ้นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อ่างเก็บน้ำประแสร จ.ระยอง หนึ่งในอ่างเก็บน้ำสำคัญในพื้นที่ EEC / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวยอมรับว่า เขตพัฒนาพิเศษ EEC ในพื้นที่ จ.ระยอง จ.ชลบุรี และจ.ฉะเชิงเทรา กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจริง เนื่องจากความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในโครงการ EEC อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่า แนวทางการแก้ปัญหาของฝั่งภาครัฐที่เน้นสร้างอ่างเก็บน้ำ และโครงการผันน้ำข้ามลุ่ม เป็นการแก้ปัญหาแบบหวังน้ำบ่อหน้า ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง ซ้ำยังเป็นการสร้างความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากรน้ำระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมในเขต EEC และพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดข้างเคียง “จากสภาพฝนฟ้าอากาศที่แปรปรวนมากขึ้น จากผลกระทบสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ทำให้พื้นที่ภาคตะวันออกที่เคยเป็นพื้นที่ฝนตกชุก ประสบสภาวะฝนแล้งยาวนานขึ้น โดยในช่วงปีที่ผ่านมา ฤดูฝนในภาคตะวันออกหดสั้นลงจาก 8 เดือน เหลือเพียง 4 เดือน จนทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง” ดร.สมนึก อธิบาย “ยิ่งไปกว่านั้น แม้บางพื้นที่ของภาคตะวันออกยังมีฝนตกอยู่บ้าง แต่พื้นที่ฝนตกชุกก็เปลี่ยนแปลงไป กลับไปตกในพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำมากขึ้น ทำให้แม้ว่ามีฝนตกก็ไม่มีน้ำเติมลงในอ่างเก็บน้ำ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า โครงการอ่างเก็บน้ำใหม่ทั้งหลายที่เลือกพื้นที่ก่อสร้างโดยอ้างอิงชุดข้อมูลจากสถิติเก่า จะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในระบบชลประทานได้อย่างที่คาดหวัง” ดังนั้น เขาจึงเสนอว่าการแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่ EEC ต้องเริ่มจากการสร้างระบบให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้น้ำสามารถใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ส่งเสริมนโยบาย 3R (Reduce, Reuse, Recycle) โดยนำน้ำเสียจากทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และชุมชน กลับมาบำบัดเพื่อนำมาใช้ซ้ำอีกครั้ง เป็นการลดปริมาณการใช้น้ำโดยรวม และแก้ปัญหามลพิษน้ำเสีย “ในขณะที่ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทานที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ให้สามารถกระจายน้ำไปยังพื้นที่เกษตรในเขตชลประทานได้อย่างทั่วถึง และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ระบบชลประทานในหลายท้องที่ยังคงไม่ครอบคลุมพื้นที่เกษตร ทำให้เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ทันได้ใช้น้ำ แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำกลับต้องผันไปให้ภาคอุตสาหกรรมใน EEC แล้ว อีกทั้งระบบชลประทานที่มีอยู่ยังมีข้อบกพร่องมาก ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำจากการระเหยกว่า 25%” เขากล่าว ดร.สมนึก ยังแนะอีกว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC และภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน รัฐบาลควรคำนึงถึงอีกหลัก 3R ในการบริหารจัดการน้ำได้แก่ Rethink: ภาครัฐต้องเลิกยึดติดกับกรอบความคิดเดิม และแสวงหาแนวทางใหม่ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง Redesign: ภาครัฐควรเปิดให้ผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบระเบียบร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถใช้น้ำอย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพสูงสุด Regulation: ภาครัฐต้องมีการบังคับใช้กฎระเบียบร่วมกันในการใช้น้ำอย่างเคร่งครัด เช่นเดียวกับ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า การส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด มีการบำบัดน้ำนำมาใช้ซ้ำอย่างจริงจังตามแนวทาง 3R เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ EEC ได้ดีที่สุด เพราะหลายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของภาครัฐ เช่น โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่ หรือโครงการผันน้ำข้ามลุ่ม ต่างพบปัญหาต่างๆ มากมายในการดำเนินการ ทำให้โครงการเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำได้ไม่มาก หรือโครงการสร้างโรงกลั่นน้ำจืดจากน้ำทะเล ก็มีต้นทุนสูงมาก จนอาจไม่คุ้มค่า “ภาครัฐควรออกมาตรการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการทำระบบ 3R เพื่อรีไซเคิลน้ำเสียนำกลับไปใช้ใหม่อีกครั้ง เช่น ลงทุนปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางให้สามารถใช้งานได้จริง หรือออกมาตรการจูงใจภาคเอกชนด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้ผู้ประกอบการใน EEC วางระบบรีไซเคิลน้ำนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความต้องการน้ำลงได้” ผศ.ดร.สิตางศุ์ กล่าว การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำในภาคตะวันออกสูงขึ้นเรื่อยๆ //ขอบคุณภาพจาก: เบญจ์ เพชราภิรัชต์ เธอยังเสนอแนะว่า จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานรัฐในการดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งใหม่และการผันน้ำข้ามลุ่ม กรมชลประทาน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องทำหน้าที่ร่วมกับคนกลางเช่น นักวิชาการ ในการให้ข้อมูลกับชาวบ้าน และจัดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงใจ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ ลดปัญหาความขัดแย้งจากการแก่งแย่งน้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม อนึ่ง สทนช. รายงานว่า ภายการประชุม คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ครั้งที่2/2563 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งผลักดันโครงการตามแผนการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC โดยให้เร่งรัดโครงการสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อน 17 โครงการ ใน 7 กลุ่มโครงการ ได้แก่ โครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ซึ่งรับผิดชอบโดย สทนช. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โครงการพัฒนากลุ่มบ่อน้ำบาดาลสำหรับอุตสาหกรรม โดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กลุ่มโครงการอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำบางปะกง 2 โครงการ โดยกรมชลประทาน ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำหนองกระทิง และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองกะพง จ.ฉะเชิงเทรา กลุ่มโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ 2 โครงการ โดยกรมชลประทาน ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ และโครงการเครือข่ายน้ำอ่างเก็บน้ำคลองโพล้-ประแสร์ จ.ระยอง กลุ่มโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของแหล่งน้ำเดิม 4 โครงการ ของกรมชลประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำเดิมในเขตพื้นที่ EEC กลุ่มโครงการอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา 2 โครงการ โดยกรมชลประทาน ได้แก่ โครงการอุโมงค์ส่งน้ำอ่างเก็บน้ำพระสะทึง-คลองสียัด และโครงการระบบสูบกลับอ่างเก็บน้ำคลองสียัด กลุ่มโครงการเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง และปรับปรุงขยายเขตการประปาส่วนภูมิภาค จ.ชลบุรี 5 โครงการ ที่มา : Green News

logoTEST TECH

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
30, 32 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 63 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร: 02-893-4211-17, 087-928-5554
แฟกซ์: 02-893-4218
อีเมล: info@testtech.co.th, wanwalee.d@testtech.co.th
เราใช้คุกกี้ในเว็บไซต์ของเราเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์ และเพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสําหรับคุณ โปรดอ่านนโยบายการใช้คุกกี้ เมื่อคุณเข้าใช้เว็บไซต์นี้เราถือว่าคุณยินยอมให้จัดเก็บและเข้าถึงคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ
3000
4900
th