Facebook: TestTech
Line: @Testtech
02-893-4211-17
ภาษาไทย
ภาษาไทย
เข้าสู่ระบบ/สมัครสมาชิก
logo
หน้าหลัก
บริการของเรา
บริการของเรา
บริการทดสอบ
บริการอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ชุดตรวจวิเคราะห์
เคมีภัณฑ์
บริษัทของเรา
เกี่ยวกับเรา
ทำไมต้องเรา
เครื่องมือของเรา
ร่วมงานกับเรา
ประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
ภาษาไทย
ภาษาไทย
เข้าสู่ระบบ/สมัครสมาชิก
fb
line
phone
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
>
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข่าวสาร
Test Tech
ความเป็นมาของ EIA ในประเทศไทย และความคืบหน้าด้านกฏหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมาของ EIA ในประเทศไทย และความคืบหน้า ลิงค์ ::: https://drive.google.com/open… Cr.พงษ์ศักดิ์ เอื้อสุวรรณา ผอ.กลุ่มงานพัฒนาหลักเกณฑ์ (สผ.) ******************** ๑. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ รายละเอียด: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2563/E/013/T_0046.PDF ๒. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ รายละเอียด: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2563/E/013/T_0049.PDF cr.เพจ environmental Law Enforcement
แนะคนป่วย มีไข้ หากสงสัยว่าติด "โควิด-19" ลองทำแบบประเมินความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลราชวิถี ผ่านเว็บไซต์ ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และลดการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ในประเทศไทย ส่งผลให้ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงหลายคนเริ่มกังวลว่า ตัวเองจะติดไวรัสโควิด-19 หรือไม่ หรืออาจจะเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลราชวิถี ได้ร่วมกันจัดทำ แบบประเมินความเสี่ยงก่อนมาโรงพยาบาลต่อการติดเชื้อ COVID-19 ผ่านเว็บไซต์ http://rajavithi.emergencymed.net/corona/ โดยแบบสอบถามฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การดูแลตนเองให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และลดการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแนะนำว่า ผู้ทำแบบประเมินต้องให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ และลดการมาที่โรงพยาบาลโดยไม่มีความจำเป็นอาจทำให้เสี่ยงการติดเชื้อมากขึ้น นอกจากนี้แบบประเมินนั้นช่วงท้ายสุดจะมีให้เลือกระหว่าง การประเมิน และการทดลองระบบ โดยผู้ที่เข้าข่ายสงสัยว่าเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 โปรดคลิกตรงคำว่า "หากท่านใช้ข้อมูลจริง กรุณากดที่ปุ่ม ทำการประเมิน" ส่วนผู้ที่ต้องการทดสอบระบบ โปรดคลิกตรงคำว่า "หากท่านทดลองระบบหรือไม่ใช้ข้อมูลตามจริงโปรดกดที่ ทดลองระบบ" ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
ผลกระทบจาก ไวรัสโคโรนา ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวกับการรับมือ โรคสายพันธุ์ใหม่ ที่อุบัติขึ้นมาคร่าชีวิตของชาวโลกในเวลาอันรวดเร็ว การตื่นตัวที่ว่าไม่ใช่เพียงการป้องกันและการรักษาโรค ยังตื่นตัวด้านการค้นคิดตัวยาใหม่ๆ นวัตกรรมที่จะป้องกันการอุบัติของโรคและการใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและไม่เป็นอันตราย
ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและเข้าใจถึงการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง เป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน นำร่องไปพอสมควร อาทิ พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC โดย ปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ GC ได้อธิบายถึงการที่ GC ให้ความสนใจและจัดพาวิลเลียน Everlasting Forest by GC ภายใต้แนวคิด Circular Loving เพื่อส่งต่อความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เริ่มจากกระบวนการ Recycle และ Upcycle ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อนำไปต่อยอดและสร้างเป็นธุรกิจใหม่ และทำให้เกิดเป็น ระบบนิเวศทางธุรกิจ ที่จะผลักดันให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างคนกับพลาสติก มุมมองใหม่ ผ่านผู้บริโภค นักออกแบบ และแบรนด์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักรู้ว่า หากเลือกใช้งานพลาสติกอย่างถูกต้อง รวมถึงการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว พลาสติกก็ถือว่าเป็นวัสดุที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โดยการนำเสนอผ่านการใช้วัสดุทางเลือกต่างๆ เช่น พลาสติกชีวภาพ ที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งในด้านคุณสมบัติกับสิ่งแวดล้อม ใน ด้านอุตสาหกรรม การใช้ Fiber Rebar หรือ Grass Fiber Reinforced Polymer แทนเหล็ก มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทานกว่าเหล็ก 3 เท่า ไม่เป็นสนิมและไม่เกิดการกัดกร่อนทำให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว นอกจากนี้ จากการที่เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยออกมา โดยการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 43 ในกระบวนการผลิต และใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าเหล็ก ร้อยละ 50 หรือจาก ผลิตภัณฑ์หนึ่งสู่ผลิตภัณฑ์หนึ่ง ด้วยการ อัปไซเคิล เพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกหรือพลาสติกเหลือใช้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้น หรือการนำเสนอการใช้ พลาสติกชีวภาพ หรือ ไบโอพลาสติก ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้ GC ได้นำมาแสดงให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้และเข้าใจสิ่งแวดล้อมและการรักษาสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และจะเกิดอันตรายกับมนุษย์ ที่มีการวิวัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ ได้ที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก การเรียนรู้ของผลกระทบกับธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เข้าใจและไม่รู้คุณค่า เป็นสิ่งที่จำเป็น มีคุณค่าและสำคัญสำหรับการดำรงอยู่ของคนในปัจจุบันและในอนาคต
สส.ชวนทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกที่ ลดปัญหาการจัดการขยะ
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะเห็นได้ว่า ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยมีมากขึ้น นั่นหมายถึงในแต่ละวันปริมาณขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งหน้ากากอนามัยจัดได้ว่าเป็นขยะติดเชื้อ เนื่องจากปนเปื้อนด้วยเสมหะ น้ำลาย น้ำมูกของบุคคลผู้ใช้ และอาจยังปนเปื้อนเชื้อโรคจากบุคคลที่ป่วยหรือผู้เป็นพาหะนำโรคได้ . ปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ หากมีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง เพราะนอกจากหน้ากากอนามัยจะเป็นขยะติดเชื้อแล้ว ยังมีองค์ประกอบที่ผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก อย่างพอลิโพรไพลีน (Polypropylene : PP) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ที่นำมาขึ้นรูปให้เป็นเส้นใยสังเคราะห์ แล้วทอให้เป็นแผ่น รวมไปถึงลวดสำหรับปรับให้เข้ากับโครงจมูกก็ทำมาจากแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก หรือลวดโลหะอลูมิเนียม . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) จึงได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ และเป็นห่วงสุขภาพของพี่น้องประชาชน รวมทั้งระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยขอให้พี่น้องประชาชนทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกที่เพื่อจะได้นำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธี ลดปัญหาขยะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนลดต้นตอการแพร่กระจายเชื้อโรคในวงกว้าง . สำหรับการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ควรมีถังขยะติดเชื้อ หรือถังขยะเฉพาะสำหรับแยกทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว และควรมีฝาปิดถังขยะอย่างมิดชิด โดยวิธีการทิ้งที่ถูกต้องควรถอดหน้ากากออก โดยไม่สัมผัสด้านในของหน้ากาก จากนั้นพับหน้ากาก โดยเก็บส่วนที่สัมผัสกับหน้าให้อยู่ด้านใน แล้วม้วนสายรัดหรือสายที่คล้องหู พันรอบหน้ากาก ก่อนทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ ที่สำคัญต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังทิ้ง โดยการกำจัดขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกต้อง ควรมีการเก็บขนอย่างมิดชิด และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 เช่น การเผากำจัดด้วยเตาเผาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นต้น . ขณะที่ นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เราทุกคน ยังสามารถช่วยลดปริมาณขยะหน้ากากอนามัยให้น้อยลงได้ ด้วยการใช้ให้เหมาะสม เช่น ใช้เมื่อต้องเข้าไปในแหล่งชุมชนที่มีผู้คนหนาแน่น อยู่ในพื้นที่แออัด หรือใช้รถขนส่งสาธารณะ และที่สำคัญในภาวะที่เกิดการขาดแคลนหน้ากากอนามัย เราสามารถใช้หน้ากากทางเลือก อย่างเช่น หน้ากากผ้าซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำในการป้องกันตัวเองได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้จะช่วยลดปริมาณขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วทิ้งลงได้ แต่ในการใช้ซ้ำหน้ากากผ้าจะต้องมีการซักให้สะอาด และอาจนำไปต้ม ก่อนตากแดดให้แห้งเพื่อฆ่าเชื้อโรค ก่อนนำกลับมาใช้อีก (Reuse) . อย่างไรก็ตาม การสวมหน้ากากอนามัยเป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายมาตรการป้องกัน ที่ควรปฏิบัติควบคู่กันไป โดยเฉพาะการล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ แต่หากไม่มีน้ำและสบู่ให้ล้าง สามารถใช้เจลล้างมือหรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อได้ ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำสูตรเจลล้างมือ Green Gel ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ด้วยการใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น ไม่แต่งกลิ่น ไม่เพิ่มความหนืด แต่ได้ผลในการฆ่าเชื้อโรคเช่นเดียวกัน เครดิต #คุณภาพสิ่งแวดล้อมคือคุณภาพชีวิต
โคโรนา : 5 คำถามเรื่องหน้ากากอนามัย บีบีซีมีคำตอบ
นอกจากปัญหาฝุ่นพิษจิ๋ว PM 2.5 ที่กระตุ้นให้คนไทยหันมาใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นแล้ว การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อปัญหามลพิษทางอากาศมารวมกับการระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้เราได้เห็นภาพของผู้คนบนท้องถนน บนรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร พนักงานร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ สวมหน้ากากอนามัยกันแทบทุกคนซึ่งเป็นภาพที่ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยนัก แม้ว่าการสวมใส่หน้ากากอนามัยในชีวิตประจำวันจะเป็นพฤติกรรมใหม่ที่กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่หลายคนอาจยังมีคำถามและข้อสงสัยติดค้างอยู่ในใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ชนิดนี้ บีบีซีไทยนำมารวบรวมไว้พร้อมกับคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ 1) หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา แบบผ้า หรือ N95 ใช้แบบไหนดี พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัยบอกกับบีบีซีไทยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดโรคนั้นจะมาในรูปแบบละอองฝอยที่พุ่งออกมาจากผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (surgical face mask) ที่เห็นกันคุ้นตาที่มีสีเขียว สีฟ้าหรือสีขาว สามารถป้องกันการกระจายตัวของโรคนี้ได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่สบายมีการไอ จาม ต้องใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคในตัวกระจายไปยังผู้อื่น สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เจ็บป่วย แต่ต้องอยู่ในที่ชุมชนที่มีคนจำนวนมาก ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองเช่นกัน บางคนสงสัยว่าจำเป็นต้องใช้หน้ากากแบบ N95 หรือไม่ พญ.พรรณพิมลตอบว่า หากต้องการสวมใส่เพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 นั้น ต้องใช้หน้ากากแบบ N95 เพราะหน้ากากอนามัยแบบธรรมดาจะสามารถป้องกันได้เพียงบางส่วนหรือราว 30% เท่านั้น แต่หน้ากากแบบ N95 นั้นผู้สวมมักจะอึดอัดเพราะมีการทอด้วยเส้นใยที่แน่นมาก ดังนั้น หากต้องใช้หน้ากากต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนาก็ขอแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ซึ่งใส่สบายกว่าและป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อไวรัสโคโรนาได้ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรคให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า หน้ากากอนามัยแบบ N95 นั้นถ้าใส่ไม่ถูกวิธีหรือเอามือไปขยับบ่อย ๆ ประสิทธิภาพอาจจะต่ำกว่าการใส่หน้ากากธรรมดาด้วยซ้ำ 2) หน้ากากอนามัยใช้ซ้ำได้หรือไม่ พญ.พรรณพิมลบอกว่า โดยปกติควรจะใช้วันเดียวทิ้ง ยกเว้นบางวันที่ใช้น้อยมากก็อาจจะใช้ต่อเนื่องได้ แต่ต้องพิจารณาดูสภาพการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงว่ามีการชำรุดหรือไม่ หากชำรุดก็ควรทิ้งไป อธิบดีกรมอนามัยย้ำว่า หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ไม่สามารถนำไปซักแล้วนำมาใช้ใหม่ได้ เพราะทันทีที่ถูกซัก เส้นใยที่ถักทอขึ้นมาจะสูญเสียคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อโรค อีกทั้งยังเป็นขุย ซึ่งผู้ใช้อาจหายใจเข้าไปได้ หากใช้หน้ากากอนามัยแบบผ้าก็ต้องดูให้ดีว่าเป็นผ้าที่มีความแน่นของเส้นใยที่พอเหมาะ เช่น ผ้าสาลู นอกจากนี้ การตัดเย็บจะต้องให้มีขนาดพอเหมาะและกระชับกับใบหน้า เพื่อป้องกันได้ดีที่สุด 3) ถ้าขาดแคลนหน้ากากอนามัยจะทำอย่างไรดี อธิบดีกรมอนามัยแนะนำว่า "การล้างมือให้สะอาด" เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันตัวเองในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อกลุ่มไวรัสโคโรนา เพราะโอกาสติดเชื้อมาจากการสัมผัสกับเชื้อในละอองฝอยที่มือไปสัมผัสมาแล้วมาป้ายที่ตาบ้างหรือหยิบจับอาหารเข้าปากบ้าง แล้วการล้างมืออย่างไรถึงจะปลอดภัย อธิบดีกรมอนามัยบอกว่า เพียงใช้สบู่ธรรมดาก็สามารถชำระล้างเชื้อโรคได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ก็ได้ "ขอให้ล้างมือเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นช่วงการระบาดของโรคหรือช่วงปกติ เพราะนี่เป็นวิธีการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค" นอกจากนี้ การกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไม่สบาย และการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงก็เป็นการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุด เพราะถ้าร่างกายของเรามีภูมิต้านทานดี แข็งแรง โอกาสเจ็บป่วยจากกลุ่มโรคเหล่านี้ก็น้อยลง หรือถ้าติดเชื้อ อาการของโรคก็จะไม่รุนแรง พญ.พรรณพิมลแนะนำ 4) หน้ากากอนามัยจะขาดตลาดหรือไม่ นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายในบอกกับบีบีซีไทยว่า ในภาวะปกติความต้องการใช้หน้ากากอนามัยจะอยู่ที่ประมาณ 30 - 40 ล้านชิ้นต่อเดือน แต่ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นราว 50 ล้านชิ้นต่อเดือน โดยผู้ผลิตหน้ากากอนามัย 3 ราย ยืนยันกับกรมฯ ว่า ผู้ผลิตในประเทศสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้เกิน 100 ล้านชิ้นต่อเดือนในช่วง 4-5 เดือนนี้ "เมื่อพิจารณาอัตราการผลิตของโรงงานในประเทศ 10 แห่ง กับความต้องการที่เพิ่มขึ้นถือว่ายังเพียงพอต่อความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้ประชาชนอย่าซื้อหน้ากากกักตุนมากเกินความจำเป็นเพราะอาจจะทำให้สินค้าขาดแคลนเพราะการผลิตไม่ทันต่อความต้องการ" นายประโยชน์กล่าว 5) ขยะหน้ากากอนามัยทิ้งที่ไหนดี ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิชาการจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้จัดการโครงการ Chula zero waste ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทยว่า ตามหลักวิชาการแล้วหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วถือเป็น "ขยะติดเชื้อ" ซึ่งต้องส่งไปกำจัดด้วยวิธีที่ปลอดภัย คือ กำจัดในเตาเผาขยะติดเชื้อ "แต่ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการขยะติดเชื้อของกระทรวงสาธารณสุข ขยะติดเชื้อหมายถึงขยะที่เกิดในสถานพยาบาล ดังนั้นหน้ากากอนามัยที่คนปกติใช้ทั่ว ๆ ไปเพื่อป้องกันตัวเองจากฝุ่นหรือเชื้อโรคจึงไม่นับว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งก็เข้าใจได้ เพราะถ้านิยามว่าหน้ากากอนามัยที่เราทุกคนใช้ตอนนี้เป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งมีข้อมูลว่ามีมากถึงประมาณ 30 ล้านชิ้นต่อเดือน ระบบการจัดการขยะติดเชื้อที่มีอยู่ก็คงรองรับไม่ไหว" ดร.สุจิตรากล่าว เธอเสนอว่า ในสถานการณ์ที่การใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นมากขณะนี้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดขยะหน้ากากอนามัยจำนวนมากตามไปด้วย สำนักอนามัยของกรุงเทพมหานคร (กทม.) น่าจะเป็นเจ้าภาพในการวางระบบกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว โดยการตั้งศูนย์รับแล้วส่งไปกำจัดที่เตาเผาขยะติดเชื้อที่ได้มาตรฐานของ กทม. ขณะที่โครงการ Chula zero waste ได้จัดวางถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วไว้ตามคณะต่าง ๆ เพื่อส่งไปกำจัดเป็น "ขยะติดเชื้อ" โดยศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะส่งมอบอย่างถูกวิธีและปลอดภัยไปยังบริษัทรับกำจัดขยะประเภทนี้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะใช้วิธีการเผาทำลายในเตาที่มีอุณหภูมิสูง
roadmap การจัดการขยะพลาสติก สามารถลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณ 0.78 ล้านตัน/ปี
โรดแมปเลิกใช้พลาสติก โดยการคัดแยกและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม . นับเป็นก้าวย่างสำคัญที่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ได้เห็นชอบร่างโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอโรดแมปดังกล่าวตั้งเป้าหมายในการลดและเลิกใช้พลาสติกบางประเภทภายในปี 2562 จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 1.พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม 2.พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ (OXO) และ 3.ไมโครบีดส์ (Microbead) ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในปี 2565 จะเลิกใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ 1.ประเภทถุงพลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า36 ไมครอน 2.กล่องโฟมบรรจุอาหาร 3.แก้วพลาสติกแบบบางใช้ครั้งเดียว และ 4.หลอดพลาสติกที่มีข้อยกเว้นสำหรับใช้กับเด็ก คนชราและผู้ป่วย . ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณ 0.78 ล้านตัน/ปี ประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาท/ปี ประหยัดพื้นที่รองรับและกำจัดขยะมูลฝอย พลาสติก โดยการคัดแยกและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดพื้นที่ฝังกลบได้ประมาณ 2,500 ไร่ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 1.2 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า . อย่างไรก็ตาม หากนำพลาสติกไปเป็นพลังงานจะก่อให้เกิดพลังงาน 1,830 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือเป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าขนาด 230 เมกะวัตต์ หรือสามารถประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วัตถุดิบใหม่ โดยประหยัดพลังงานได้ 43.6 ล้านล้านบีทียู หรือคิดเป็นน้ำมันดิบประมาณ 7.54 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท . เมื่อมองไปยังประเทศอื่น เช่น เกาหลีใต้ ได้เริ่มแบนการใช้ถุงพลาสติกภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อช่วยลดปัญหาขยะในทะเลและมหาสมุทร โดยกฎหมายที่ออกมาจะมีผลให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่กว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีพื้นที่มากกว่า165 ตารางเมตรขึ้นไป อีกกว่า11,000 แห่ง ต้องยุติการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป . กิจการห้างร้านใดฝ่าฝืนอาจจะต้องถูกปรับเป็นเงินสูงถึง 3 ล้านวอน หรือประมาณ 87,500 บาท แต่จะอนุโลมให้เฉพาะการซื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ พร้อมกันนี้ทางซุปเปอร์มาร์เกตยังจะต้องเสนอทางเลือกใหม่ โดยการนำถุงผ้าหรือถุงกระดาษที่สามารถรีไซเคิลได้มาบริการแก่ลูกค้าแทน การดำเนินนโยบายดังกล่าวนี้ของเกาหลีถือเป็นแบบอย่างให้เห็นทั้งในแง่การส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะรีไซเคิล และมาตรการลงโทษ ซึ่งก่อนหน้านี้ออสเตรเลีย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน นิวซีแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ต่างก็ได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะเดียวกันนี้มาแล้ว สหภาพยุโรปเองก็ประกาศแบนการใช้สินค้าพลาสติก เช่น หลอด คอตตอนบัด ช้อนส้อมพลาสติก เป็นต้น . ประเทศที่ถือว่ามีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายแบนพลาสติกรุนแรงที่สุดในโลกคือเคนยาซึ่งอาจถูกจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับเป็นเงินกว่า39,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1.26 ล้านบาท . แนวโน้มที่ประเทศทั่วโลกเห็นความสำคัญและมุ่งมั่นในการจัดการขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่องนับเป็นทิศทางที่ดี รวมถึงประเทศไทยด้วย แต่กระนั้น เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอร์รัม คาดการณ์ว่าปัจจุบันมีขยะพลาสติกในทะเลและมหาสมุทรกว่า150 ล้านตัน หรือมีขยะประเภทนี้เพิ่มปีละ 5-13 ล้านตัน ซึ่งหากยังไม่แก้ไขพฤติกรรมการบริโภค ขยะพลาสติกในท้องทะเลและมหาสมุทรทั่วโลกจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของสัตว์ทะเล ภายในปี 2050 ข้อมูล: http://www.tei.or.th/th/area_infographic_detail.php?area_id=9&event_id=556 และ คุณภาพสิ่งแวดล้อมคือคุณภาพชีวิต
มาตรฐานน้ำทิ้ง โรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ ฉบับใหม่ พ. ศ. 2561
กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานน้ำทิ้ง ว่าด้วยเรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตเยื่อและโรงงานผลิตกระดาษ พ.ศ.2561 โดยกำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งใหม่ ให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบาย น้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 เพื่อให้การระบายน้ำทิ้งของโรงงานผลิตเยื่อ ลำดับที่ 38(1) และโรงงานผลิตกระดาษลำดับที่ 38(2) รวมถึงโรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม ลำดับที่ 101 ที่รับน้ำเสียจากโรงงาน ผลิตเยื่อ โรงงานผลิตกระดาษ เป็นไปโดยเหมาะสมกับ ปัจจัยในการประกอบกิจการดังกล่าว ตาราง แสดงมาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้ง ของโรงงานแต่ละประเภทเทียบกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พารามิเตอร์ หน่วย ประกอบกิจการ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม มาตรฐานน้ำทิ้ง พ.ศ. 2560 ผลิตเยื่อ 38(1) ผลิตกระดาษ 38(1) ปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม 101 สี (COLOR) ADMI 600 350 350 300 ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (TSS) mg/l 40 40 40 50 บีโอดี (BOD) mg/l 20 30 20 20 ซีโอดี (COD) mg/l 400 270 270 120 ทีเคเอ็น (TKN) mg/l 10 10 10 100 อ่านเพิ่มเติม (http://www.diw.go.th/hawk/news/T_0031.PDF)
บริษัท เทสท์ เทค จำกัด เข้าร่วมโครงการ #จิตอาสาพัฒนาคลองสาธารณประโยชน์ ครั้งที่ 2 "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" กับนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ชลบุรี และหน่วยงานต่างๆ
วันที่ 26 ตุลาคม 2562 บริษัท เทสท์ เทค จำกัด เข้าร่วมโครงการ #จิตอาสาพัฒนาคลองสาธารณประโยชน์ ครั้งที่ 2 โดยมี นายธวัชชัย รอดงาม ปลัดจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดงาน โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้จัดให้มีการขุดลอก คู คลอง และปรับปรุงภูมิทัศน์ พัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ รวมระยะทางยาวกว่า 320 เมตร เพื่อให้คลองสาธารณะแห่งนี้กลับมามีคุณภาพที่ดีและสามารถรับการระบายน้ำได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของตนเองให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นอีกด้วย Cr: อมตะนคร
‹
1
2
3
4
5
6
7
8
›
logo
TEST TECH
บริษัท เทสท์ เทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
30, 32 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 63 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร:
02-893-4211-17
,
087-928-5554
แฟกซ์:
02-893-4218
อีเมล:
info@testtech.co.th
,
wanwalee.d@testtech.co.th
บริการของเรา
บริการของเรา
บริการทดสอบ
บริการอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ชุดตรวจวิเคราะห์
เคมีภัณฑ์
บริษัทของเรา
เกี่ยวกับเรา
ทำไมต้องเรา
เครื่องมือของเรา
ร่วมงานกับเรา
ประชาสัมพันธ์
ติดต่อเรา
Member
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เราใช้คุกกี้ในเว็บไซต์ของเราเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์ และเพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสําหรับคุณ โปรดอ่านนโยบายการใช้คุกกี้ เมื่อคุณเข้าใช้เว็บไซต์นี้เราถือว่าคุณยินยอมให้จัดเก็บและเข้าถึงคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ
รายละเอียดเพิ่มเติม
ได้อ่านและยอมรับ
×
ค้นหา
ปิดหน้าต่าง
ค้นหา
Search Result
X
3000
4900
th