ปลูกป่าแก้โลกร้อน?

รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย ประจำปี 2562–2563 // ขอบคุณภาพ: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร   กราฟนี้คือสถิติปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของไทย ถ้าสังเกตดีๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2545 เป็นต้นมาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยแทบจะไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเลย เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงนั้นน้อยมาก นั่นหมายความว่าอะไร? ก็หมายความว่าที่รณรงค์ให้ทุกคนปลูกป่ากันมาเป็นสิบๆ ปี มันไม่ได้มีผลอะไรเลยในระดับประเทศ แล้วถามว่ามารณรงค์ปลูกป่าวันนี้ เราจะมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นไหม – แทบจะเป็นไปไม่ได้ เราต้องมาดูปัญหาจริงๆ ว่าเราเสียพื้นที่ป่าจากอะไร อุปสงค์มาจากไหน และอะไรทำให้เกิดการบุกรุกป่า การรณรงค์ให้ทุกคนไปปลูกป่าจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หรือมีก็น้อยมาก ในระดับท้องถิ่น คำถามที่ตามมาจากการรณรงค์ให้ทุกคนปลูกป่าคือปลูกที่ไหน ปลูกอะไร และปลูกยังไง ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ส่วนใหญ่โครงการปลูกป่าสำหรับคนเมืองในอดีตก็เป็นแค่โครงการ CSR ที่ไม่ได้สนใจสภาพแวดล้อมของป่านั้นๆ ด้วยซ้ำ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือสักแต่ว่าปลูก ดังนั้นการบอกให้ทุกคนปลูกป่าเพื่อแก้ปัญหา climate change จึงไม่ใช่สิ่งที่ทำได้จริง ไม่มีประโยชน์ และไม่ใช่คำตอบสำหรับประเทศไทย ประหยัดพลังงาน ลดพลาสติก “ปิดไฟ อย่าใช้พลังงานสิ้นเปลือง” การประหยัดพลังงาน เป็นการรณรงค์สุดคลาสสิคที่ทำกันมาทั้งโลกหลายสิบปี ถามว่ามีประโยชน์ไหม – มี แต่ถามว่าแก้โลกร้อนได้ไหม ก็ต้องตอบเลยว่า – ไม่ได้ เพราะปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ในระดับครัวเรือนนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และถามว่าภาคธุรกิจเองเขาพยายามจะประหยัดไหม แน่นอนเขาก็อยากประหยัดอยู่แล้วเพราะอยากที่จะลดต้นทุน สิ่งที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคือการเน้นไปที่นโยบายส่งเสริมการประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ หรือการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดโดยใช้กลไกราคาพลังงานของตลาด 1.) สถานการณ์การใช้น้ำมันและไฟฟ้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563, สนพ. 2.) การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายภาคเศรษฐกิจ // ขอบคุณภาพ: สนพ. มาถึงเรื่อง การลดพลาสติก ช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมาไทยมีการรณรงค์เรื่องนี้ค่อนข้างมาก แต่ต้องถามว่าสิ่งที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนจริงๆ คือทุกคนหันมาใช้พลาสติกน้อยลงเพราะตระหนักถึงความสำคัญ หรือว่าเป็นเพราะนโยบายกลไกการเก็บเงินค่าถุงพลาสติก ทุกคนน่าจะรู้ว่าแค่ต้องจ่ายเพิ่ม 1–2 บาทเป็นค่าถุงพลาสติก ก็ไม่มีใครอยากจ่ายแล้ว และเมื่อภาครัฐจริงจังมากขึ้น บังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในไทยนั้นก็ลดลงไปมหาศาล ถ้าใครตามข่าวก็คงจะเห็นผลที่เกิดตามมา เช่น ข่าว 400โรงงานดิ้นขอรัฐเยียวยา โรงงานถุงพลาสติกเจ๊งยังไงละ รัฐก็ต้อง หาจุดสมดุลระหว่างจะช่วยภาคธุรกิจหรือจะช่วยสิ่งแวดล้อม แต่การจะมาบอกให้ชาวบ้านแบบเราช่วยลดใช้ถุงพลาสติกช่วยโลกร้อน อันนี้ก็คงตอบได้เลยว่าไม่ได้ช่วยอะไรมาก ประโยชน์ของการลดใช้ถุงพลาสติกจริงๆ แล้วช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากกว่าทั้งบนดินและมหาสมุทร รวมไปถึงอาหารที่เรากินและคุณภาพอากาศที่เราหายใจ แต่หลายคนอาจไม่รู้เลยว่าสิ่งหนึ่งที่พลาสติกกับโลกร้อนมีจุดยืนรวมกันก็คือ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่คนอื่นทั้งโลกเสียประโยชน์ นั้นเอง เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถุงพลาสติกก็คือน้ำมันดิบนั้นเอง และในยุคที่บริษัทน้ำมันกำลังล่มจม บริษัทน้ำมันเหล่านี้เองก็เร่ง ผลิตพลาสติกออกมาให้ได้มากที่สุดและไวที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะชดเชยกำไรที่ลดลงจากการขายน้ำมัน ถ้าใครสนใจสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ Big Oil Is in Trouble. Its Plan: Flood Africa With Plastic. Cr: Greenery

ครม.มีมติอนุมัติแผนลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก ประกาศห้ามใช้ "พลาสติก 4 ชนิด" ถุงหิ้ว โฟม แก้ว หลอด พลาสติก แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ในปี 2565 พร้อมขีดเส้นพลาสติก 7 ชนิดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ไม่ต่ำกว่า 50% ในปี 2565

วันที่ 15 ก.พ.64 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ] เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องเร่งดำเนินการ ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ  โดยเพื่อเป็นกรอบและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่สำคัญและต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในช่วง 3 ปีแรก (ปี พ.ศ. 2563 - 2565) ก้าวสู่การจัดการพลาสติกที่ยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Moving Towards Sustainable Plastic Management by Circular Economy) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ แผนการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกรวมถึงการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ  อ่านเพิ่มเติม: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922683?anm&fbclid=IwAR0puTY2_XVZKsfogiWIvrJ1neZ0FdREAK3ebDSLf4O7_aY0MM9OIDz7Qg0

ครั้งแรกไทย! น้ำบาดาล “รสโซดา” เจอที่กาญจนบุรี

วันนี้ (11 ก.พ.2564) นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ กรณีขุดพบบบ่ำน้ำบาดาลรสชาติกลิ่นโซดา ในพื้นที่จ.กาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่พบในไทย ว่า หลังจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่สำรวจปัญหาภับยแล้งในพื้นที่อ.เลาขวัญ และอ.ห้วยกระเจา ซึ่งเป็นจุดที่ประสบปัญหาแล้งทุกปี และไม่สามารถดึงน้ำจากเขื่อนศรีนรินทร์มาช่วยเหลือประชาชนได้ จึงมองหาการขุดเจาะบ่อบาดาลแทน และหลังจากเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ส่งทีมนักธรณีสำรวจพื้นที่เพ่อทดลองขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งตั้งเป้าจะขุดประมาณ 10 บ่อ นายศักดา กล่าวว่า แต่ปรากฎว่าในระหว่างที่เริ่มขุดบ่อบาดาลที่ห้วยกระเจา ขุด 1 จุด และที่เลาขวัญ 1 จุดเจอว่ามีประมาณน้ำบาดาลเยอะมาก ที่ระดับ 100-200 เมตร แต่ขณะที่กำลังขุดในบ่อที่ 3 หลังขุดลงไปราว 303 เมตร ยังไม่ลึกที่สุด เกิดแรงดันน้ำพุ่งขึ้นจากปากบ่อ พบว่ามีรสชาติโซดา ออกหวานนิด  “เก็บน้ำจากบ่อไปตรวจพบว่ามีแร่ไบคาร์บอเนต ปริมาณ 1,600 เทียบกับน้ำโซดา และตอนนี้น้ำโซดายังพุ่งสูงกว่า 1.8 เมตร มีปริมาณน้ำไหลออกมาเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยมีปริมาณน้ำชั่วโมงละ 50 ลบ.ม. มีเป้าหมายขุดอีก 6 บ่อ”   แบ่งปัน               ข่าวดี! ครั้งแรกในไทย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ขุดเจอบาดาลรสโซดา ที่จ.กาญจนบุรี มีแร่ไบคาร์บอเนตสูง บริโภคได้ เตรียมขุดเพิ่มเติมในอ.ห้วยกระเจา และเลาขวัญ เพื่อให้ชาวบ้านบริโภคและทำการเกษตร หลังจากเป็นพื้นที่อับฝนเจอภัยแล้งทุกปี วันนี้ (11 ก.พ.2564) นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ กรณีขุดพบบบ่ำน้ำบาดาลรสชาติกลิ่นโซดา ในพื้นที่จ.กาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่พบในไทย ว่า หลังจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่สำรวจปัญหาภับยแล้งในพื้นที่อ.เลาขวัญ และอ.ห้วยกระเจา ซึ่งเป็นจุดที่ประสบปัญหาแล้งทุกปี และไม่สามารถดึงน้ำจากเขื่อนศรีนรินทร์มาช่วยเหลือประชาชนได้ จึงมองหาการขุดเจาะบ่อบาดาลแทน และหลังจากเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ส่งทีมนักธรณีสำรวจพื้นที่เพ่อทดลองขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งตั้งเป้าจะขุดประมาณ 10 บ่อ นายศักดา กล่าวว่า แต่ปรากฎว่าในระหว่างที่เริ่มขุดบ่อบาดาลที่ห้วยกระเจา ขุด 1 จุด และที่เลาขวัญ 1 จุดเจอว่ามีประมาณน้ำบาดาลเยอะมาก ที่ระดับ 100-200 เมตร แต่ขณะที่กำลังขุดในบ่อที่ 3 หลังขุดลงไปราว 303 เมตร ยังไม่ลึกที่สุด เกิดแรงดันน้ำพุ่งขึ้นจากปากบ่อ พบว่ามีรสชาติโซดา ออกหวานนิด  “เก็บน้ำจากบ่อไปตรวจพบว่ามีแร่ไบคาร์บอเนต ปริมาณ 1,600 เทียบกับน้ำโซดา และตอนนี้น้ำโซดายังพุ่งสูงกว่า 1.8 เมตร มีปริมาณน้ำไหลออกมาเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยมีปริมาณน้ำชั่วโมงละ 50 ลบ.ม. มีเป้าหมายขุดอีก 6 บ่อ” ภาพ:กรมทรัพยากรน้ำบาดาล   อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวอีกว่า น้ำบาดาลที่พบในบ่อที่เลาขวัญและมีรสชาติโซดา ถือเป็นน้ำสะอาด คุณภาพดี สาเหตุที่มีไบคาร์บอเนต เพราะน้ำบาดาลผ่านการกรองจากชั้นหินปูน มีแร่ธาตุต่างๆสะอาดกว่าน้ำผิวดิน และตอนนี้จะขุดให้ลึกลงไปจนถึง 400 เมตร และขุดบ่อบดาลในจุดใกล้เคียงกันเพิ่มเติม เพื่อให้ชาวบ้านนำไปใช้ในการบริโภค รวมทั้งการเกษตร   “ถ้าดื่มนานๆในปริมาณที่เหมาะสมจะลดโรคเบาหวานได้ โดยตอนนี้ร่วมกับอบต.ส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้า รวมทั้งจะประกาศเขตอนุรักษ์น้ำบาดาล เพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนลักลอบขุดเจาะ และไม่เกิดการปนปนปื้อน ” ภาพ:กรมทรัพยากรน้ำบาดาล   นายศักดา กล่าวอีกว่า คาดว่าแต่ละบ่อที่ขุดเจาะน่าจะปริมาณน้ำมากกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำสะอาด อีกทั้งมีรสชาติแปลกพิเศษ ปริมาณน้ำที่พบ จะช่วยชาวบ้านในพื้นที่ได้ถึง 11 หมู่บ้าน รวมทั้งพื้นที่เกษตรอีกกว่า 3,000ไร่ ในพื้นที่ อ.ห้วยกระเจา ที่เคยประสบปัญหาความแห้งแล้ง  ล่าสุด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล รายงานว่า จากการขุดเจาะบริเวณบ้านทุ่งคูณ  3 บ่อ พบว่าในบ่อที่ 2 (พุบ่อแรก) ลึก 304 เมตร พบน้ำโซดาพุปริมาณพุประมาณ 30-50 ลบ.ม พุสูงประมาณ 1.8 เมตร ส่วนบ่อที่ 3 (พุบ่อที่ 2 ) ลึก 224 เมตร พบน้ำโซดาพุปริมาณพุประมาณ 30-50 ลบ.ม พุสูงประมาณ 3 เมตร   ข้อมูลจาก: https://news.thaipbs.or.th/content/301318

PM 2.5 วิกฤติหนัก ร่างกายอ่วม ถ้าฝุ่นไม่หาย ทำอย่างไรเราถึงจะ "รอด"

ช่วงนี้สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กลับมาวิกฤติหนักอีกครั้ง โดยบางพื้นที่พบค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ ระบบผิวหนัง และ PM 2.5 ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง หากได้รับมลพิษจากฝุ่นเข้าสู่ร่างกายมากๆ อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย จนมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป   ก่อนหน้านี้ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ทยอยออกมาเตือนและให้ความรู้ประชาชน ในการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเอง จากการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะประชาชนบางอาชีพ ที่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูง หรืออยู่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานานๆ เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างหรือวินมอเตอร์ไซค์ และกลุ่มอาชีพทำความสะอาดถนนหรือกวาดถนน พ่อค้า แม่ค้า ริมทาง รวมถึงตำรวจจราจร การได้สัมผัสฝุ่นละอองเป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้   นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายมากประชาชนทั่วไป ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และ 4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลเป็นพิเศษ โดยหากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว คือ 1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด 2. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ 3. กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ 4. กลุ่มโรคตาอักเสบ น้องไข่ตุ๋น นักศึกษาสาวปี 3 อายุ 21 ปี ได้เล่าประสบการณ์การแพ้ฝุ่นพิษ PM 2.5 ให้ "กนก" ฟังว่า มีโรคประจำตัวคือภูมิแพ้อากาศตั้งแต่ตอนเกิด ปกติเวลาตื่นเช้ามาจะจามไม่กี่ครั้งแล้วก็หาย แต่ถ้าวันไหนค่าฝุ่นขึ้นเยอะ อาการจะหนักขึ้นมาก จามทั้งวัน คัดจมูก มีน้ำตาคลอตลอดเวลา ทำให้ปวดตามากๆ กระทบไปถึงการนอน เนื่องจากหายใจไม่สะดวก สุดท้ายก้ต้องกินยาแก้แพ้ แม้ว่าตื่นมาแล้วอาการจะดีขึ้น แต่ทุกครั้งจะรู้สึกเหมือนคนแฮงก์ เพราะยามีฤทธิ์ทำให้ง่วง เวลาตื่นขึ้นมา จะมึนงง บางครั้งก็จะรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เหมือนจะเป็นไข้ ทำให้มีผลกระทบอย่างมากต่อการเรียน โดยเฉพาะถ้าวันไหนมีเรียนช่วงเช้า ก็จะรู้สึกเบลอ ไม่มีสมาธิ เรียนไม่รู้เรื่อง หนักสุดคือ ถ้าจามทั้งวัน จะเจ็บบริเวณท้อง เพราะเวลาจามร่างกายจะเกร็งบริเวณหน้าท้อง     ด้าน นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า วิธีปฏิบัติให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยการลดการก่อมลพิษและลดการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ รวมถึงดูแลทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกบ้านหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน หากจำเป็นควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด   ทั้งนี้ หลายคนจึงจำเป็นต้องรู้จักป้องกันตนเองให้มากขึ้น โดยการสวมหน้ากากอนามัย หรือ N95 ที่เหมาะสม ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ล้างมือ ล้างหน้า ล้างตาให้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด เยื่อบุตาอักเสบ หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ต้องเลี่ยงพื้นที่ฝุ่นสูง (สีแดง) หรือลดระยะเวลาออกนอกอาคารให้น้อยที่สุด หากมีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เช่นเดียวกัน สำหรับผู้บริโภคหากเลือกซื้ออาหารจากแผงลอย ควรเลือกที่มีการปกปิดอาหาร เช่น ใส่ตู้กระจก หม้อที่มีฝาปิด เป็นต้น สำหรับผู้จำหน่ายอาหารประเภทปิ้งย่าง ควรใช้เตาไฟฟ้าหรือเตาไร้ควัน ซึ่งจะช่วยลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM 2.5 และขณะปฏิบัติงานควรยืนเหนือลม ที่สำคัญควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสฝุ่นละอองต่างๆ และเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จากการหยิบจับอาหารผ่านมือได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อฝุ่น PM 2.5 ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม และใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในอาคาร การจัดการคุณภาพอากาศในอาคารอย่างเหมาะสม จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันตนเอง โดยเทคนิคการจัดการคุณภาพอากาศภายในบ้าน สำนักงาน แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้ การควบคุมแหล่งกำเนิด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ PM 2.5 ภายในบ้าน สำนักงาน การควบคุมแหล่งกำเนิดของ PM 2.5 ภายในบ้านจึงเป็นส่วนที่สำคัญอันดับแรกโดยปิดประตูหน้าต่าง และเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นในบ้าน การฟอกอากาศ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการลด PM 2.5 ภายในบ้าน/สำนักงาน การใช้อุปกรณ์ฟอกอากาศ จึงเป็นการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคที่สามารถทำได้ การระบายอากาศร่วมกับการฟอกอากาศ โดยอาศัยการจ่ายอากาศที่ผ่านการกรองเข้ามาให้ห้อง เพื่อให้ภายในห้องมีแรงดันสูงกว่าบรรยากาศภายนอก (Positive Pressure) และผลักดันฝุ่นภายในห้องออกไปภายนอกอย่างต่อเนื่องจนปริมาณฝุ่นในห้องต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับพื้นที่ของคนที่อยู่อาศัยจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ขณะที่อีกหนึ่งตัวช่วยในการดักจับสารพิษในอากาศ และสามารถป้องกันฝุ่นละอองได้ดี คือ การปลูกต้นไม้ เพราะส่วนต่างๆ ของต้นไม้โดยเฉพาะใบ สามารถช่วยดักฝุ่นได้ดี ต้นไม้หลากหลายชนิดสามารถดักจับฝุ่นได้จากลักษณะของใบ โดยต้นไม้ที่มีใบใหญ่ หนา โดยเฉพาะใบที่มีขนหรือมีพื้นผิวขรุขระ จะมีแนวโน้มในการดักจับฝุ่นได้ดี เนื่องจากมีพื้นที่ในการดักจับได้มาก และไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกมาอีกครั้ง แต่การดักจับฝุ่นบนใบนั้นมีข้อจำกัด เนื่องจากฝุ่นบนใบ จะไปปิดกั้นการรับสารอาหารของต้นไม้ และการลดฝุ่นของต้นไม้ต่อต้นอาจจะไม่สูงมากเมื่อเทียบกับเครื่องฟอกอากาศ แต่การปลูกต้นไม้ ร่วมกับการวางผังบริเวณที่ดี เช่น การจัดสวนเพื่อเป็นพื้นที่กันชนระหว่างแหล่งกำเนิด จะช่วยส่งผลให้ลดการเดินทางของฝุ่นจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว เข้ามาภายในบ้านและสำนักงานได้ สุดท้ายแล้วก็ยังไม่มีใครรู้ ว่าสถานการณ์ของฝุ่นพิษนี้มันจะดีขึ้นเมื่อไหร่ แต่ทุกคนสามารถช่วยกันได้โดยเริ่มจากตัวเราเอง ด้วยการลดการใช้รถยนต์ที่มีควันดำ, ลดการเผาขยะหรือเผาในที่โล่งแจ้ง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่น เพื่อลดการได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ.   ข้อมูล: กนก โฆษกสุขภาพ (ผู้เขียน), Supassara Traiyansuwan (กราฟฟิก)

ทำความรู้จัก Zero Waste แนวคิดลดขยะเป็นศูนย์ ถึงเวลาหรือยัง ที่ต้องช่วยกัน

Zero Waste คืออะไร ? Zero Waste หรือ "แนวคิดขยะเหลือศูนย์" เป็นแนวทางในการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ขยะที่จะถูกนำไปกำจัดเหลือน้อยที่สุด หรือเหลือศูนย์ โดยยึดหลักง่ายๆ อย่าง 1A3R ที่ประกอบด้วย Avoid การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่ม เช่น พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง Reduce การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง เช่น การใช้ถุงผ้าไปช็อปปิ้ง แทนการรับถุงพลาสติกจากร้านค้า Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น กล่องพัสดุที่ได้รับมา นำไปใส่ของส่งของต่อให้ผู้อื่น Recycle การหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การ Recycle พลาสติก ให้ออกมาเป็นวัสดุตั้งต้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำไมต้องเริ่มให้ความสำคัญ แนวคิดขยะเหลือศูนย์? มีข้อมูลว่า จากสถิติของประเทศไทย ในแต่ละวัน ประชากรในประเทศ ผลิตขยะเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยคนละ กว่า 1 กิโลกรัม ซึ่งลองคิดเล่นๆ ว่าหากเอามากองรวมกัน จะมีปริมาณขยะมากขนาดไหน อีกทั้งยังมีข้อมูลที่น่ากลัวว่า ขยะพลาสติก 1 ชิ้น ใช้เวลาในการย่อยสลายถึง 450 ปี อีกทั้งช่วงสถานการณ์ "โควิด-19" ที่ผ่านมา ซึ่งทุกคนต้องล็อกดาวน์อยู่แต่ในบ้าน สัดส่วนขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกจังหวัด เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ New Normal ทำให้หลายคนหันมาใช้บริการสั่งอาหารรูปแบบเดลิเวอรี่ (Food delivery) โดยพบว่ามี ขยะพลาสติก เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในเขตกรุงเทพมหานคร เรียกว่าไม่ใช่น้อยๆ เลย ขณะที่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน แล้วเราจะทำได้หรือ กับการไม่สร้างขยะ หรือลดขยะให้เหลือศูนย์ เอาจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะสำหรับใครหลายคนถือเป็นเรื่องใหม่ ที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ซึ่งขั้นแรกคงไม่พ้นการตั้งเป้าหมาย ว่าเราจะทำเพื่อไปอะไร ถ้าเรายังทิ้งขยะมากมายเหมือนที่เป็นอยู่ตอนนี้ จะส่งผลอย่างไรกับเรา ทั้งเรื่องของสภาวะโลกร้อน การปนเปื้อนของสารพิษในอากาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคธุรกิจเริ่มปรับตัว เดินคู่ "สิ่งแวดล้อม" ขณะที่หลายๆ ธุรกิจ ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับแนวคิด Zero Waste ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ที่เริ่มให้ลูกค้านำแก้วมาใส่กาแฟเอง โดยไม่รับแก้วพลาสติก หรือแก้วกระดาษจากทางร้าน รวมถึงการใช้หลอดที่ทำจากกระดาษ รวมไปถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับแนวคิดนี้เช่นกัน อย่าง IKEA แบรนด์ของแต่งบ้าน จากสวีเดน ซึ่งประกาศตัวว่า จะยุติการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา รวมถึงมีเป้าหมายที่จะซื้อวัสดุหลักทั้งหมดจากแหล่งที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นให้ได้ภายในปี 2563  นอกจากนี้ IKEA Group ยังให้ความสำคัญกับการสิ้นเปลืองพลังงาน โดยภายในปี 2563 จะสร้างพลังงานหมุนเวียนให้เท่ากับพลังงานที่เราใช้ไปโดยใช้แหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น ลมและแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ยังมีกำลังปรับปรุงให้อาคารของมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้ใช้พลังงานน้อยลงในการทำงาน Adidas ประกาศความร่วมมือกับ Parley for the Oceans หรือ องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ตั้งแต่ปี 2015 เพื่อจัดทำโครงการเปลี่ยนขยะพลาสติกในทะเล เป็นสปอร์ตแวร์รักษ์โลก โดยขยะพลาสติกในทะเล จะถูกนำมารีไซเคิล ใช้แทนโพลีเอสเตอร์ในการผลิตรองเท้า อย่างรุ่นที่ออกมาให้เห็นในปี 2020 คือ รองเท้ารุ่นพิเศษ อย่าง PrimeBlue UltraBOOST 20 ซึ่งไม่เฉพาะดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ และคุณสมบัติรักษ์โลกแล้ว ในเรื่องความทนทาน ทาง Adidas ก็มั่นใจว่า วัสดุรีไซเคิลจะไม่ทำให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพดั้งเดิมของรองเท้าอย่างแน่นอน แม้แต่กระเป๋าแบรนด์ดังอย่าง freitag เอง ที่ไม่ได้ออกตัวว่า ใช้แนวคิด Zero Waste แต่จุดเริ่มต้นของการทำกระเป๋า ก็มาจากการสองพี่น้อง ที่อยากหากระเป๋าใส่เอกสารขนาดใหญ่ ที่พอจะเก็บอุปกรณ์การเรียน และตอบโจทย์การใช้จักรยานเป็นพาหนะ กระทั่งเห็นรถบรรทุกที่มีผ้าใบคลุมอยู่ จึงเกิดไอเดียว่า น่าจะลองนำผ้าใบมาใช้ทำกระเป๋า นอกจากจะเป็นการรีไซเคิลแล้ว ผ้าใบยังมีสีสันที่สดใส และมีคุณสมบัติที่ทนทาน และกันน้ำได้ ซึ่งนอกจากผ้าใบที่นำมาทำกระเป๋าแล้ว ทั้งสองคนยังนำของเหลือใช้อื่นๆ อย่าง เข็มขัดนิรภัยมาทำสายสะพาย และนำยางในมาเย็บเก็บขอบกระเป๋า โดยใช้คอนเซปต์ ECO-Friendly มาประยุกต์ หรือจะเป็น ซุปเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ อย่าง “The Clean Kilo” ในเมืองเบอร์มิงแฮม ของอังกฤษ ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยลดมลพิษ ที่เกิดจากการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น โดยทางร้านจะให้ลูกค้าได้นำภาชนะที่มีอยู่ หรือถุงมาใส่สินค้าที่ร้าน ซึ่งสินค้าของทางร้าน ก็เป็นของสด อย่างผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเองในท้องถิ่นด้วย นำแนวคิด Zero Waste มาใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าจะให้คนธรรมดาทั่วไป หยิบขยะมากองไว้ แล้วนำไปรีไซเคิลเอง คงจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป ซึ่งหากอยากจะเริ่ม แนวคิด Zero Waste ลองเริ่มอย่างง่ายๆ อาทิ การไม่สร้างเศษอาหารเหลือทิ้ง การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การเลือกใช้ของที่ไม่เพิ่มภาระให้กับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ การใช้ของเท่าที่จำเป็น ไม่เหลือทิ้งขว้าง สุดท้ายก็จะกลายเป็นขยะโดยใช่เหตุ และส่งผลกระทบต่อโลก อย่างปัญหาที่เจออยู่ทุกวันนี้ เรียกว่าเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะเริ่มแนวคิด Zero Waste แบบไม่ต้องลงทุน   ข้อมูลดีดีจาก : เจ๊ดา วิภาวดี (ผู้เขียน), Jutaphun Sooksamphun (กราฟฟิก)

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เช้าวันนี้ (15 ธ.ค.) พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตรวจพบค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 69 พื้นที่ มากที่สุด "เขตดินแดง" วัดได้ 118 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุภาพ

วันนี้ (15 ธ.ค.2563) เว็บไซต์ Air4Thai รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เวลา 07.00 น. พบว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ "คุณภาพปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ" โดยตรวพบค่าฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ระหว่าง 37-118 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เกินมาตรฐาน 69 พื้นที่ โดยในเขตกรุงเทพฯ มี 6 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM2.5 มากที่สุด และพบค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เป็นพื้นที่สีแดง ส่งผลให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ "มีผลกระทบต่อสุภาพ" ดังนี้ ริมถนนดินแดง เขตดินแดง วัดได้ 118 มคก./ลบ.ม. ค่า AQI 228 ริมถนนเจริญนคร เขตคลองสาน วัดได้ 102 มคก./ลบ.ม. ค่า AQI 212 ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 8 เขตหนองแขม วัดได้ 100 มคก./ลบ.ม. ค่า AQI 210 ริมถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ วัดได้ 94 มคก./ลบ.ม. ค่า AQI 204 ริมถนนแยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ วัดได้ 94 มคก./ลบ.ม. ค่า AQI 204 ริมถนนสามเสน เขตพระนคร วัดได้ 92 มคก./ลบ.ม. ค่า AQI 203 ขณะที่เว็บไซต์ Airvisual รายงานข้อมูลเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูง (AQI) 10 อันดับทั่วโลก เมื่อเวลา 08.21 น. ดังนี้ แนะเฝ้าระวังสุขภาพ-เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร แนะนำว่า หากคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ให้ประชาชนในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานเฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น หากคุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ เครดิต: Thai PBS NEWS, กรมควบคุมมลพิษ

“โรงไฟฟ้าขยะ” ทางออก "วิกฤติขยะล้นเมือง"

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ด้านขยะชุมชนจากบ้านเรือน ร้านค้า ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต สำนักงาน สถานที่ต่างๆ และสารพัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน อยู่ในขั้นวิกฤติ ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจำนวนคนในชุมชนที่หนาแน่นมากขึ้น เมืองขยายตัว ยิ่งชุมชนใดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็ยิ่งพบปัญหาขยะอย่างมาก     อีกทั้งไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คน รักความสะดวกสบาย นิยมใช้บริการอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น ก็เป็นตัวสร้างปริมาณขยะให้สูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขยะพลาสติก เวลานี้เกิดปริมาณของเหลือทิ้งจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองและชุมชนใหญ่ๆ ภาพขยะกองเท่าภูเขายังมีให้เห็น ข่าวร้องเรียนบ่อฝังกลบขยะส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งรบกวนชาวบ้านปรากฏตามสื่อและโลกออนไลน์เป็นระยะ     ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ ปี 2562 ระบุว่า ประเทศไทยมีขยะชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 28.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3 จำนวนนี้เป็นขยะพลาสติก 2 ล้านตันต่อปี อัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 1.1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขยะถูกคัดแยกนำไปรีไซเคิลและทำปุ๋ยอินทรีย์ คิดเป็นร้อยละ 44 และร้อยละ 34 นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง       แต่ที่น่ากังวลยังมีขยะชุมชนที่เหลืออีกร้อยละ 22 กำจัดอย่างไม่ถูกต้อง โฟกัสที่ขยะพลาสติก 1.5 ล้านตันทิ้งปะปนกับขยะอื่น ขยะส่วนใหญ่ไหลผ่านชุมชนมาตามแม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำเน่าเสีย กีดขวางการระบายน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเวลาฝนตกหนักๆ และขยะเหล่านี้ยังไหลออกสู่ทะเล เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองที่เชื่อมต่อกับทะเลไม่ต่ำกว่า 900 สาย นับเป็นการทำลายระบบนิเวศในทะเลและเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ รวมถึงส่งผลกระทบหลายด้าน       ที่ผ่านมามีการเสนอแนวคิดจัดการขยะชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ ช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม หนึ่งในทางเลือกมีแนวคิดในการนำขยะชุมชนไปแปลงเป็นพลังงานด้วยกระบวนการต่างๆ ตามนโยบายรัฐ ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี 2558-2570 ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากขยะชุนชม 900 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 หลายพื้นที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน หลายพื้นที่อยู่ระหว่างเตรียมโครงการ แต่อีกด้านหนึ่งโรงไฟฟ้าขยะมีเสียงต่อต้านจากชุมชนและองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังคาใจด้านมลพิษ     สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดสัมมนา “การพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะ” เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน (Public-Private-People Partnership: 4P) ในการจัดการพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า กกพ. ปี พ.ศ.2562 และร่วมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางพัฒนาความร่วมมือในการจัดการพลังงานไฟฟ้าจากขยะในอนาคต โดยมีผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ห้องแกรนด์ บอลรูม-2 โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย      ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ทุกคนยอมรับขยะเป็นปัญหาสำคัญ รัฐบาลก็มีนโยบายแก้ไข แต่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจัง โดยเฉพาะการขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าจากขยะ อุปสรรคคือ ขาดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ และความรู้ความเข้าใจว่า โรงไฟฟ้าขยะมีหน้าที่หลักกำจัดขยะ พลังงานไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ รวมถึงการทำให้ชุมชนยอมรับ ทั้งที่ในต่างประเทศมีแบบอย่างโรงไฟฟ้าจากขยะที่บริหารจัดการขยะได้ดี พร้อมระบบควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้เรามีขยะ 27 ล้านตัน จัดการถูกวิธีไม่ถึงครึ่ง จากรายงานประเทศสหรัฐปี 55 ไทยถูกจัดอันดับประเทศมีปัญหาขยะพลาสติกอันดับ 6 ของโลก ปีนี้ขยับขึ้นเป็นอันดับ 4 ประเมินจากการจัดการขยะไม่ถูกต้อง 62% ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ     “ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าขยะที่เกิดขึ้นระหว่างสถาบันและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า นำมาสู่การศึกษา วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการจัดการพลังงานไฟฟ้าจากขยะในระดับพื้นที่ ซึ่งการแก้ปัญหาขยะต้องจัดระบบให้ครบวงจร ยึดหลัก 3 R ส่วนการมีโรงไฟฟ้าจากขยะต้องสื่อสารให้ชัดเจน เพราะทุกท้องถิ่นไม่สามารถตั้งโรงไฟฟ้าขยะได้หมด ปัจจัยขึ้นกับปริมาณขยะ บางท้องถิ่นมีปริมาณขยะน้อย ฉะนั้น ต้องช่วยกันออกแบบกระบวนการและมีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นมากกว่าปัจจุบัน" วิจารย์กล่าว     ด้าน เบญจมาศ โชติทอง ผู้อำนวยการฝ่ายบริการทางวิชาการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้เราต้องการเรียนรู้กรณีศึกษาในประเทศไทย ถอดบทเรียนจากการดำเนินงาน เชิญ อปท.จากทั่วประเทศเข้าร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนไปด้วยกัน อยากเห็นรูปแบบความร่วมมือในการทำงานด้านนี้มากขึ้น ปัจจุบันคัดเลือก อปท. 8 แห่ง จาก 30  แห่งที่สมัครเข้าร่วมโครงการ พิจารณาจากศักยภาพในพื้นที่ ได้แก่ อบต.เชียงหวาง จ.อุดรธานี อบต.ท่าโรงช้าง จ.สุราษฎร์ธานี ทม.ปราจีนบุรี ทม.สุรินทร์ ทม.คูคต จ.ปทุมธานี ทม.อุบลราชธานี เมืองพัทยา จ.ชลบุรี และ อบจ.ฉะเชิงเทรา ดำเนินการตั้งแต่กันยายนปี 62 จะสิ้นสุดโครงการธันวาคมนี้     ผลการทำงานมีคู่มือพัฒนาความร่วมมือ สำหรับผู้บริหารหน่วยงานและผู้นำชุมชน, คู่มือพัฒนาความร่วมมือสำหรับประชาชน และมีแผนจะเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งต้องลดขยะตั้งแต่ต้นทาง จัดเก็บ รวบรวม และผลิตไฟฟ้าจากขยะ พื้นที่ที่เหมาะสมตั้งโรงไฟฟ้าขยะ 1 แห่ง จะต้องมีปริมาณขยะ 400-500 ตันต่อวัน      ในการกระบวนการพัฒนาโรงไฟฟ้าขยะต้องมีข้อมูลขยะ วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่ให้ครอบคลุม  เข้าใจขั้นตอนและกฎในการรวบรวมขยะ ทั้งยังพบว่าการคัดเลือกเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเหมือนติดกระดุมเม็ดแรกให้ผู้ประกอบการและท้องถิ่น หากมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอจะเกิดข้อผิดพลาด แต่ละเทคโนโลยีมีจุดเด่นและจุดด้อย ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณขยะ จากการศึกษาบทเรียนในต่างประเทศ การจัดการขยะเข้มงวดตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง รวมถึงจัดการเถ้าจากการเผาไหม้ ต้องทำให้ชุมชนในพื้นที่ยอมรับ สำหรับรูปแบบความร่วมมือ 4P นั้น จะเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เดิมคุ้นเคยแบบ PPP เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ เน้นการลงทุน แต่ PPPP เพิ่มให้ความสำคัญกับภาคประชาชนมากขึ้น และมีกลไกความร่วมมือตลอด   เวทีเสวนาประเด็นการพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะ เมื่อเร็วๆ นี้     สำหรับรูปแบบและกลไกความร่วมมือ 4P ผู้อำนวยการคนเดิมระบุทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน อปท.ต้องทำงานร่วมกับท้องถิ่นด้วยกัน ไม่ใช่แค่ส่งขยะให้ แต่ร่วมวางแผนทำงาน และมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ตลอดจนความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบโครงการ และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ก่อขยะ อยากให้ตั้งคณะทำงานและมีสัญญาที่ครอบคลุมด้านความร่วมมือ มีข้อตกลงความร่วมมือ ตลอดจนเทศบัญญัติและข้อบัญญัติท้องถิ่น รวมถึงแผนงานดำเนินกิจกรรม CSR ของภาคเอกชน ไม่อยากให้เป็นเพียงงานอีเวนต์ โดยเรามี 6 ข้อเสนอ ทำพลังงานไฟฟ้าจากขยะที่จะเสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ดังนี้      1.กฎระเบียบด้านขนาดและการวางแผนใช้พื้นที่ ให้มีพื้นที่เพียงพอในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ทั้งการปลูกต้นไม้เป็นแนวกันชน ระบบบำบัดน้ำเสีย จากน้ำชะล้าง การฝังกลบเถ้าอย่างถูกวิธี 2.เงื่อนไขการคัดแยกขยะและกำจัดขยะอินทรีย์/ขยะอาหาร เพราะมีข้อกังวลขยะในท้องถิ่นเป็นขยะอินทรีย์ร้อยละ 50 ต้องจูงใจให้คัดแยกขยะ และส่งเสริมให้มีการกำจัด โดยเทคโนโลยีทางชีวภาพ เช่น ไบโอก๊าซ เพื่อลดการกำจัดด้วยวิธีเผา ช่วยลดต้นทุนและมลพิษ 3.ศึกษาเพื่อกำหนดกรอบการจัดเก็บค่ากำจัดขยะเป็นธรรมและเหมาะสมกับการกำจัดขยะแต่ละรูปแบบ     4.เพิ่มบทบาทคณะกรรมการปฏิกูลมูลฝอยจังหงวัด ให้ครอบคลุมจัดการทั้งระบบ 5.กำหนดพื้นที่และตั้งคณะกรรมการระดับคลัสเตอร์ ที่มีความยืดหยุ่น และมีปริมาณขยะที่สอดคล้องความคุ้มทุนในการทำโครงการ ควรมีการตั้งคณะกรรมการระดับคลัสเตอร์ที่มาจาก อปท. 6.ตั้งคณะทำงานระดับโครงการและจัดทำแผน CSR ยั่งยืน ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและมีการป้องกันผลกระทบอย่างเป็นระบบ     ในเวทีเสวนาประเด็นการพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะ  กิตติพงษ์ ภิญโญตระกูล รองเลขาธิการ กกพ. ได้อัพเดตสถานการณ์ไฟฟ้าจากขยะของไทยว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ต.ค.63 ครม.มีมติอนุมัติแผน PDP 2018 ปรับปรุงครั้งที่ 1 กำหนดโควตาสำหรับโรงงานพลังงานไฟฟ้าจากขยะจำนวน 400 เมกะวัตต์ จะเริ่มปี 2565 ก่อนหน้านี้มีโรงไฟฟ้าจากขยะ 2 ประเภท ได้แก่ ขยะชุมชน โควตาเดิมมีอยู่ 500 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าไปแล้ว 36 โรง รวม 328 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 13 โรง ที่ 121 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าขยะชุมชนกว่า 450 เมกะวัตต์ ขณะนี้กำลังเริ่มจัดกระบวนการใหม่ตามแผน PDP ซึ่งผู้ประกอบการสนใจมาก แต่ต้องมองปริมาณขยะเชื้อเพลิงนำสู่ปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่     รองเลขาฯ กพพ. ให้ข้อมูลอีกว่า ไฟฟ้าจากขยะ 450 เมกะวัตต์ที่ผ่านมา มาจากเทคโนโลยีไบโอแก๊สจำนวนหนึ่ง ที่เหลือเป็นเทคโนโลยีทางความร้อน เทคโนโลยีทางกล  ส่วนอีก 400 เมกะวัตต์ หาก อปท.และเอกชนสนใจต้องติดตามข่าวสาร ส่วนจะเริ่มเมื่อใด หรือแบ่งเป็นเฟสๆ มั้ย พิจารณาจากปัจจัยหลายด้านทั้งสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศ มุ่งเน้นความมั่นคงเป็นสำคัญ ส่วนแนวคิด 1 ชุมชน 1 โรงไฟฟ้าขยะ เป็นสิ่งที่กระทรวงมหาดไทยต้องไปกำหนดหลักเกณฑ์และสำรวจพื้นที่หรือท้องถิ่นที่มีความพร้อม มีศักยภาพเพียงพอ สร้างโรงไฟฟ้าตามจำนวนเชื้อเพลิงที่มีรองรับ เพื่อลดการขนส่งขยะป้องกันผลกระทบที่จะตามมา จากนั้นตรวจสอบคุณสมบัติของชุมชน และเอกชนที่ร่วมทุนจัดสัดส่วนโควตา     “กกพ.ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าที่กระทบกับราคาที่เป็นธรรม โรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและจากขยะ ต้องถือว่ามีต้นทุนสูงกว่าที่เราซื้อไฟ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเข้าไปชดเชย แต่รัฐไม่ได้มองมิติเดียว ในมุมกลับกันช่วยกำจัดขยะ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าเม็ดเงินที่ชดเชย กกพ.จะส่งเสริมพลังงานสะอาดให้กับสังคมไทย โรงไฟฟ้าขยะถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการบริหารจัดการขยะ ไม่ได้เป็นทางออกการกำจัดขยะ เพราะขยะจำนวนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าเป็นเชื้อเพลิงขยะ คนไทยต้องตระหนัก" กิตติพงษ์เน้นย้ำ     ขณะที่ ธนกร วนะกิจกุลพัฒน์ รองนายกเทศมนตรีเมืองสุรินทร์ กล่าวว่า เทศบาลเมืองสุรินทร์มีปริมาณขยะ 50 ตันต่อวัน กระบวนการจัดการขยะใช้วิธีฝากฝังไว้ในที่เทศบาลวารินทร์ เดิมใช้เทกองและขนถ่าย งบประมาณจัดการ 2 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อขนถ่ายไม่หมด ก่อปัญหามลภาวะชุนโดยรอบ จึงสร้างโรงงานบีบอัดขยะงบกว่า 90 ล้านบาท เพื่อให้เหลือปริมาณขยะน้อยลง แก้ปัญหาไม่มีพื้นที่ฝังกลบและลดขยะตกค้างได้ส่วนหนึ่ง เคยทำ MOU กับ 7 อบต.ข้างเคียง หากจะขนส่งขยะมาจัดการในเมือง เราคิดค่าจัดการขยะ แต่ได้รับความร่วมมือน้อยมาก ปัจจุบันเทศบาลเมืองสุรินทร์มีกระบวนการคัดแยกขยะแต่ต้นทาง มีจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ตั้งธนาคารขยะ และขยะรีไซเคิลสงเคราะห์ รวมถึงเก็บขยะตามเวลา แต่ทุกวันนี้ก็ยังฝากฝังขยะ 45 ตันต่อวัน     “เวลามีข่าวทำโรงไฟฟ้าขยะในเมืองจะเกิดการต่อต้านทันที จำเป็นต้องปรับความรู้ความเข้าใจกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้นว่า โรงไฟฟ้าขยะหัวใจสำคัญมีหน้าที่กำจัดขยะในท้องถิ่น แต่ได้พลังงานไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ รัฐบาลประกาศขยะคือวาระแห่งชาติ หลักการดีมาก แต่ถามว่าดำเนินการอะไรที่เป็นรูปธรรม ผมเห็นว่าต้องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการขนส่งขยะและการรวบรวมขยะ อย่าไปมองว่าท้องถิ่นได้เงินใต้โต๊ะ มีเงินทอน ล็อกสเปกเอื้อบริษัท การพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะกระบวนการต้องปรับให้ทันสมัย ลดขั้นตอน และไม่ใช่ท้องถิ่นเดินขาเดียว" ธนกรเผยอุปสรรค     ปัจจุบันมีบางชุมชนที่ประสบปัญหาขยะล้นสุกงอม ต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน อาทิ ชุมชนในสุราษฎร์ธานี นิภาพันธ์ ภักดี รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรงช้าง จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ทุกวันนี้เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีไม่มีพื้นที่ทิ้งขยะ ขนไปทิ้งนครศรีธรรมราช ก็ถูกประท้วง ร้องเรียน สุดท้ายตำบลท่าโรงช้างแบกรับภาระขยะ มีขยะเข้าพื้นที่เกือบ 400 ตันต่อวัน ปล่อยให้ อบต.เดินอยู่ลำพัง ขาดหน่วยงานที่ปรึกษา ท้องถิ่นไม่มีทรัพยากรบุคคลทำเรื่องนี้ ไม่เข้าใจด้านเทคโนโลยีเลย แต่เรามีแนวคิดจัดการขยะแปรรูปเป็นพลังงาน การนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงเป็นผลดี จนมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยสำรวจและชวนร่วมโครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจากขยะ แต่เป็นโครงการร่วมทุนกับภาคเอกชน เดินต่อด้วยความยากลำบาก บ่อขยะและพื้นที่เป็นของเอกชน ประชุมระดับคลัสเตอร์ครั้งแรกปี 61 ขั้นตอนต่างๆ เพิ่งเสร็จเดือน พ.ย.นี้ ใช้เวลา 2 ปี     “อยากเสนอให้มีหน่วยงานกลางโดยตรงรับผิดชอบด้านโรงไฟฟ้าขยะทั้งกระบวนการและให้คำปรึกษา รวมถึงโรงฟ้าขยะที่จะเกิดขึ้นจะสร้างประโยชน์ สร้างรายได้ให้เกิดร่วมกันอย่างไร จ.สุราษฎร์ธานี แบ่งเป็น 6 คลัสเตอร์ พื้นที่เกาะ 3 แห่ง สมุยก็เกิดปัญหาเรือขนส่งขยะล่ม บนบก ซึ่งท่าโรงช้างเป็นเจ้าภาพหลักคลัสเตอร์หนึ่ง มี 92 อปท. ในกลุ่ม ลงนาม MOU ร่วมกัน 60 แห่ง ปริมาณขยะรวมกันแล้ว 402 ตันต่อวัน เสนอโรงไฟฟ้ากำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ ใช้ปริมาณขยะ 400 ตันต่อวัน ก็ขับเคลื่อนโครงการมาระยะหนึ่ง" รองปลัด อบต.ท่าโรงช้างแชร์ประสบการณ์     แม้จะมีบางชุมชนต่อต้านโรงไฟฟ้าขยะ แต่สำหรับ โรงไฟฟ้าขยะ ที่ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว อย่างบริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินโครงการโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบโรงไฟฟ้าขยะที่ได้มาตรฐาน ณ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย ที่หนองแขม กลับสามารถลดแรงต้านจากชุมชนได้ระดับหนึ่ง ด้วยระบบจัดการที่เป็นระบบปิด   เหอ หนิง ประธานบริหารบริษัท ซีแอนด์จีฯ      เหอ หนิง ประธานบริหาร บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีประสบการณ์ดำเนินโรงไฟฟ้าขยะ 8 แห่งที่ประเทศจีน ปัจจุบันในจีนมีโรงไฟฟ้าขยะ 600 แห่ง และวางเป้าลดการฝังกลบขยะให้เหลือ 15% รวมถึงส่งเสริมหลักการ 3R อย่างเต็มที่ ออกมาตรการลดหย่อนภาษีดึงดูดลงทุน สำหรับการทำโรงไฟฟ้าขยะหนองแขมในไทย เปิดดำเนินการมา 5 ปีแล้ว โรงงานตั้งอยู่บนบ่อขยะเดิม ลึกลงไป 16 เมตร มีขยะฝังกลบอยู่ โครงการจึงลดแรงต้านจากชุมชนได้ส่วนหนึ่ง โรงงานเป็นระบบปิดทั้งหมด แต่ละวัน กทม.จะส่งขยะจาก 6 เขต ปริมาณ 500 ตัน เข้าโรงงาน มีส่วนจัดการขยะ และกำจัดขยะ นำขยะไปทำลายและแปรรูปเป็นไฟฟ้า ระบบการทำงานเป็นเตาเผา เป้าหมายหลักคือกำจัดขยะ มีรายได้จากการผลิตไฟ ผลประกอบการโรงงานไฟฟ้าขยะหนองแขมได้กำไร และสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ       “เส้นทางรายได้ของโรงงานมาจากค่ากำจัดขยะหน่วยงานท้องถิ่นและรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. แต่โรงงานก็ต้องได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มีระบบตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและตั้ง 5 สถานีตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการนำข้อมูลมาเทียบกัน นอกจากนี้ สร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้เข้ามาเยี่ยมชม การดูแลชุมชนโดยรอบ นำมาสู่การยอมรับของชุมชน มีการจัดการขี้เถ้าจากโรงไฟฟ้า โดยนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป" เหอ หนิง ผู้บริหาร ซีแอนด์จีฯ กล่าว และพร้อมเปิดโรงงานต้อนรับคณะมาศึกษาดูงาน ไม่ต้องเดินทางไปไกลต่างประเทศ     สำหรับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการสัมมนาครั้งนี้ ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะรวบรวมเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะของประเทศต่อไป.   ที่มา  |  https://www.thaipost.net/main/detail/85354, มูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย

ระบบนิเวศและสายพันธุ์ปลาที่หลากหลายในลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชากรกว่า 60 ล้านคน ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง

จากผลการศึกษา ทีมนักวิจัยโครงการ CounterMEASURE พบว่า พื้นที่ท้ายน้ำมีปริมาณค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกสูงกว่าจุดอื่นของลุ่มน้ำอย่างเห็นได้ชัด เช่นที่ บริเวณกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกสูงถึง 2.13 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ที่พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนสูงสุดอยู่ที่เมืองเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง สำหรับแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยก็ตรวจพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกเช่นกัน โดยพบว่า แม่น้ำโขงบริเวณ จ.อุบลราชธานี มีปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อนราว 0.38 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร  และที่ จ.เชียงราย 0.23 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร โดยไมโครพลาสติกที่พบนั้นเป็นพลาสติกประเภท PP (Polypropylene) มากที่สุด ซึ่งเป็นพลาสติกประเภทที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร แตกต่างกับการสำรวจไมโครพลาสติกในแม่น้ำประเทศญี่ปุ่นซึ่งพบเป็นพลาสติกประเภท PE (Polyethylene) ซึ่งใช้ผลิตขวดน้ำ อย่างไรก็ดี Kakuko กล่าวว่า เนื่องจากไมโครพลาสติกเป็นมลพิษใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบไม่นาน การศึกษาวิจัยจึงยังจำกัด ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีค่ามาตรฐานปัจจุบันว่าค่ามาตรฐานที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมควรมีค่าเท่าใด “สาเหตุที่ขยะพลาสติกปนเปื้อนลงแหล่งน้ำเป็นเพราะมาตรการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพและไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดการทิ้งขยะในที่โล่ง ซึ่งเมื่อมีฝนหรือน้ำท่วม จะเสี่ยงรั่วไหลลงแม่น้ำมูล นอกจากนี้ยังพบแหล่งทิ้งขยะผิดกฎหมายหลายจุด เพราะส่วนปกครองท้องถิ่นจัดหาระบบทิ้งขยะให้ไม่ทั่วถึง เช่น อุบลราชธานีมี 238 ส่วนปกครอง มีเพียง 95 แห่งที่เท่านั้น” เธอกล่าว “ผลสำรวจพิสูจน์ให้เห็นว่าปัญหาขยะพลาสติกเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหามาตรการรับมือต่างกัน  เราแนะนำให้ใช้มาตรการแบนการใช้พลาสติกที่ครอบคลุมทั้งประเทศ และส่งเสริมวิธีแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเสี่ยงขยะรั่วไหลลงแหล่งน้ำ” รายงานการศึกษาโดยทีมนักวิจัยจาก Helmholtz Center for Environmental Research ประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ.2561 เผยว่า แม่น้ำโขงเป็น 1 ในแม่น้ำ 10 สายที่ปล่อยขยะพลาสติก และไมโครพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก โดยประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีจะมีขยะพลาสติกที่ไม่ได้ถูกจัดการอย่างเหมาะสมไหลลงแม่น้ำโขงสู่ทะเลกว่า 33,431 ตัน ในขณะที่ รายงานการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปลาน้ำจืดในแม่น้ำชี โดย ภัททิรา เกษมศิริ และ วิภาวี ไทเมืองพล ซึ่งเพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of GEOMATE เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เผยว่า มลพิษไมโครพลาสติกในลุ่มแม่น้ำโขงได้แทรกซึมปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหาร เรียบร้อยแล้ว ผศ.ดร.ภัททิรา เกษมศิริ นักวิจัยจาก คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในนักวิจัยเจ้าของงานศึกษาดังกล่าว กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่างปลาน้ำจืดที่จับจากแม่น้ำชี ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง และถูกนำมาขายในตลาดท้องถิ่น 6 แห่งใน จ.มหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 107 ตัวอย่าง พบว่า มีปลาทั้งหมด 78 ตัวอย่าง หรือ 72.9% ของตัวอย่างทั้งหมดที่สุ่มตรวจ มีเศษไมโครพลาสติกในกะเพาะอาหารราว 1 – 2 ชิ้น / ตัว จากการตรวจสอบเศษไมโครพลาสติกที่พบในปลา ผศ.ดร.ภัททิรา เผยว่า กว่า 87% ของชิ้นส่วนไมโครพลาสติกเหล่านี้ เป็นพลาสติกจำพวกเยื่อไฟเบอร์ และ 57% มีลักษณะเป็นสีฟ้า ซึ่งชี้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้มาจากเศษซากอวนแห เครื่องมือประมงสมัยใหม่ที่ทำมาจากพลาสติกไฟเบอร์สีฟ้า จากการประมงและเพาะเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ ในขณะที่การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างปลาที่ตรวจพบไมโครพลาสติก ไม่พบแนวโน้มในระหว่างสายพันธุ์ว่าจะมีการที่สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งบริโภคพลาสติกมากกว่าสายพันธุ์อื่น ซึ่งตีความได้ว่าปลาในแม่น้ำโขงอาจล้วนเสี่ยงต่อการคุกคามจากพลาสติก และเป็นที่ชัดเจนว่าสุดท้ายไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะถ่ายทอดตามห่วงโซ๋อาหารมาถึงมนุษย์ในที่สุด ระบบนิเวศและสายพันธุ์ปลาที่หลากหลายในลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชากรกว่า 60 ล้านคน ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง //ขอบคุณภาพจาก: International Rivers “เมื่อเปรียบเทียบกับรายงานการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปลาทะเลจากอ่าวไทย และอ่างเก็บน้ำในประเทศจีน ปริมาณการปนเปื้อนไมโครพลาสติกที่พบในปลาจากแม่น้ำชีถือได้ว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อยกว่า อีกทั้งขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารต่อมนุษย์อย่างชัดเจน แต่การค้นพบครั้งนี้ก็ชี้ชัดว่าระบบนิเวศแม่น้ำชีมีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระดับปานกลาง” เธอกล่าว “ยิ่งไปกว่านั้น เศษไมโครพลาสติกเหล่านี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลายชนิดเช่น สไตรีน, สารโลหะหนัก, Polychlorinated Biphenyls (PCBs), รวมไปถึง polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาและระบบนิเวศแม่น้ำได้” ผศ.ดร.ภัททิรา กล่าวสรุปว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้ย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกๆ ภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ โดยการลดใช้พลาสติก หันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการขยะ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกปล่อยทิ้งลงสู่แม่น้ำโขง Cr: Green News

logoTEST TECH

บริษัท เทสท์ เทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
30, 32 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 63 ถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร: 02-893-4211-17, 087-928-5554
แฟกซ์: 02-893-4218
อีเมล: info@testtech.co.th, wanwalee.d@testtech.co.th
เราใช้คุกกี้ในเว็บไซต์ของเราเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเว็บไซต์ และเพื่อการให้บริการที่ดีที่สุดสําหรับคุณ โปรดอ่านนโยบายการใช้คุกกี้ เมื่อคุณเข้าใช้เว็บไซต์นี้เราถือว่าคุณยินยอมให้จัดเก็บและเข้าถึงคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณ
3000
4900
th